ฟินเทค เทรนด์เด่นของ Coporate VC ในปีหน้า

ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน จาก อินทัช

ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน จาก อินทัช

การลงทุนของ InVent จะเลือกสตาร์ทอัพที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สนับสนุนธุรกิจหลักขององค์กร นอกจากเงินลงทุนแล้วยังช่วยพัฒนากระบวนการทำงานของสตาร์ทอัพให้มีประสิทธิภาพ

Corporate Venture Capital (CVC) เป็นบริษัทหรือหน่วยงานภายใต้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ โดยใช้เงินทุนจากองค์กรซึ่งส่วนใหญ่ CVC เป็นผู้ลงทุนที่มีจุดแข็งในหลายด้านที่นอกเหนือจากเงินทุน

ความแตกต่างทางการลงทุนระหว่าง Corporate VC และ VC
ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน จาก อินทัช กล่าวว่า ถึงแม้ว่า VC และ CVC จะลงทุนในสตาร์ทอัพเหมือนกัน แต่ก็จะมีความแตกต่างในเรื่องของวัตถุประสงค์ของการลงทุนและแหล่งที่มาของเงินทุน วัตถุประสงค์การลงทุนของ VC ส่วนใหญ่จะเป็นให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน (Financial Investor) และมีแหล่งเงินทุนที่มาจากการระดมทุนจากนักลงทุนและกองทุนเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่วัตถุประสงค์การลงทุนของ CVC จะเป็นการผสมผสานระหว่างการลงทุนเด้านกลยุทธ์ (Strategic Investment) กับการลงทุนด้านการเงิน (Financial Investment) โดยแหล่งที่มาของเงินทุนจะมาจากตัวองค์กรเอง ซึ่ง CVC ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ภายใต้องค์กรขนาดใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับในกลุ่มธุรกิจขององค์กรเอง โดยมีจุดแข็งที่เป็นข้อได้เปรียบคือ การทำงานกับองค์กรไม่เพียงแต่จะได้รับเงินสนับสนุนเท่านั้น แต่ยังได้รับองค์ความรู้ คอนเนคชั่น และการช่วยเหลือในด้านระบบการทำงาน อีกด้วย

Discover Thainess : Experience Krabi in a Virtual Tour ผลงานของโซเชียล เนชั่น 1 ใน สตาร์ทอัพที่ InVent ลงทุนในปี 2559

Discover Thainess : Experience Krabi in a Virtual Tour ผลงานของโซเชียล เนชั่น 1 ใน สตาร์ทอัพที่ InVent ลงทุนในปี 2559

VC ในไทยตอนนี้มีที่แอคทีฟมากกว่า 30 ราย ซึ่งยังไม่รวม VC ที่มาจากต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเน้นการลงทุนในส่วนของไอที (แอพพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์) เป็นหลักเพราะเติบโตได้รวดเร็ว สามารถวัดผลได้ง่าย และสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ง่ายกว่าการลงทุนในกลุ่มอื่นๆ

นอกจากจำนวน VC ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จำนวนของ CVC เองก็กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน มีแนวโน้มจะเป็นผู้ลงทุนรายหลักในวงการสตาร์ทอัพได้ในปีหน้า และ CVC มีหน้าที่ที่จะต้องทำคือการมองหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าให้กับบริษัทสูงสุด

Invent VC ลงทุนอย่างต่อเนื่อง จับเทรนด์ VR เข้าร่วมทำโฆษณารูปแบบใหม่
โครงการ InVent โดย บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นโครงการสนับสนุน Startup ในรูปแบบ CVC ที่มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปัจจุบัน มีการลงทุนแล้วในบริษัทสตาร์ทอัพ 10 ราย โดยเน้นการร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพที่อยู่ในสายธุรกิจหลักคือ ธุรกิจโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัล คอนเทนต์และมีผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่สามารถสนับสนุนธุรกิจในกลุ่มของอินทัชได้

ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม

ใช้ App ช่วยสังคม ลดช่องว่างคนที่ลำบาก

เป็นที่แน่นอนว่า การลงทุนแบบ CVC สตาร์ทอัพต้องมีประโยชน์ต่อธุรกิจหลักของผู้ลงทุน โดยทาง InVent ก็มีการวางแผนที่จะลงทุนกับสตาร์ทอัพปีละ 2-4 ราย และลงทุนขั้นต่ำที่ 5 ล้านบาท โดยช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้เลือกลงทุนในสตาร์ทอัพ Series A และ Series B เนื่องจากมีความสำเร็จพื้นฐานและมีผลงานที่เห็นได้เป็นรูปธรรม

1

ไม่ได้มีเพียงแค่ธนาคารที่จะลงทุนฟินเทคได้ เพราะ ฟินเทคเองก็แบ่งออกเป็นหลายสายงาน ซึ่งก็ตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรมที่ต่างกันออกไป

สำหรับการลงทุนของ InVent ก็เลือกในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอินทัช โดยในปีนี้มีการลงทุนทั้งสิ้น 2 รายคือ บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด แอพฯ ค้นหาร้านอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุด และอีกหนึ่งสตาร์ทอัพในซิลิคอนวัลเลย์ ที่มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นคนไทย บริษัท โซเชี่ยล เนชั่น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการโฆษณาที่ใช้เทคโนโลยีการกระจายโฆษณาแบบเสมือนจริง (Virtual Reality Advertising) และโฆษณาแบบวิดีโอ 360 องศา

“การลงทุนในปีนี้อย่างบริษัท วงใน มีเดีย จำกัด ก็มองว่าตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ให้กับผู้ใช้งาน AIS ได้ และ บริษัท โซเชี่ยล เนชั่น ก็เป็นเทคโนโลยีทางด้านสื่อที่จะเป็นเทรนด์ในอนาคตแน่นอน สำหรับการทำงานร่วมกันเบื้องต้นเราก็จะมีการทำ VR และ วิดีโอ 360 มาทำเว็บไซต์ ทำโฆษณา เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้งาน และหากมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ของเราเยอะ เราก็อาจจะเปิดให้คนมาลงโฆษณาด้วยเทคโนโลยี VR ด้วยเช่นกัน ส่วนในปีหน้าเรามองด้านฟินเทคไว้และเริ่มมีการพูดคุยแล้วบางส่วน” ธนพงษ์ กล่าว

ฟินเทคเป็นเทรนด์ในปีหน้า ผู้ลงทุนมองหาเข้ามาตอบโจทย์การใช้งาน
นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาจากคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดแปลกใหม่ และไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของการทำงานภายใต้องค์กร ทำให้มีผู้คนสนใจออกมาตั้งบริษัทสตาร์ทอัพกันมากขึ้น เพราะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีอย่างเต็มที่ และถ้าความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง ก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ

[efsrow]
[efscolumn lg=”6″ md=”6″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
wongnaiapp4
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”6″ md=”6″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
wongnaiapp5
[/efscolumn]
[/efsrow]

ทั้งนี้ ธนพงษ์ มองว่า การมีจำนวนสตาร์ทอัพที่เพิ่มขึ้นนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ คนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จได้ เห็นได้จากสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในรุ่นแรกๆ หลายคนมีประสบการณ์ที่ต้องสั่งสมมาก่อนกว่าจะประสบความสำเร็จ และในขณะเดียวกันผู้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ในอนาคตการเริ่มต้นครั้งใหม่ก็สามารถล้มเหลวได้เช่นกัน

“ในปีหน้าวงการสตาร์ทอัพและ VC จะเติบโตอย่างแน่นอน เทรนด์ที่ได้รับความนิยมคือเรื่องของฟินเทค เพราะว่ามีการเชื่อมโยงกับหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ได้มีเพียงแค่ธนาคารที่จะลงทุนฟินเทคได้ เพราะฟินเทคเองก็แบ่งออกเป็นหลายสายงาน ซึ่งก็ตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรมที่ต่างกันออกไป”

โดยสำหรับมุมของผู้ลงทุนแล้ว หลักเกณฑ์ในการลงทุนของทุกๆ VC และ CVC แทบจะไม่แตกต่างกัน คือนวัตกรรมที่นำเสนอต้องตอบโจทย์ Pain point ให้ได้อย่างตรงจุด มีความแข็งแกร่ง เติบโตได้ด้วยตัวเอง และมีจุดแข็งที่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งที่พร้อมจะเข้ามาใหม่ได้ทุกเมื่อ และอีกส่วนที่สำคัญคือทีมงานที่มีคุณภาพ เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากมีปัจจัยเหล่านี้อย่างครบถ้วน ผู้ลงทุนที่สนใจก็พร้อมจะเข้าร่วมลงทุนด้วยอย่างแน่นอน