อนาคตของอินเทอร์เน็ต ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ไอแคน (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers – ICANN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 มีบทบาทในด้านระบบการตั้งโดเมนเนมและ IP Address ต่างๆ  จึงทำให้องค์กรมีบทบาทสำคัญในการขยายฐานการใช้งานและปฏิวัติอินเทอร์เน็ต

 รีนาเลีย อับดุล ราฮิม  สมาชิกของคณะกรรมการไอแคน

รีนาเลีย อับดุล ราฮิม สมาชิกของคณะกรรมการไอแคน

ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้ประสบความสำเร็จในการสมัครโดเมนด้วยชื่อ .SCB ซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการวางตลาดในโลกออนไลน์ และอาจจะกลายเป็นช่องทางใหม่สำหรับการบริการลูกค้าของธนาคารได้เป็นอย่างดี

ผู้ใช้กว่าพันล้านคนต่อไปจะมาจากเอเชีย
รีนาเลีย อับดุล ราฮิม สมาชิกของคณะกรรมการไอแคน กล่าวว่า หน้าที่ของไอแคนคือ การทำให้เกิดความมั่นใจว่าระบบอินเทอร์เน็ตของโลกจะมั่นคงปลอดภัยและมีความเสถียรสูง เมื่อต้องการที่จะหาข้อมูลหรือสื่อสารกับบุคคลทางอินเทอร์เน็ต โดยต้องพิมพ์ Address ลงไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งชื่อหรือตัวเลข Address ดังกล่าวจะต้องไม่เหมือนใคร คอมพิวเตอร์จึงจะสามารถหา Address นั้นพบได้ ไอแคนร่วมมือกับบรรดาผู้จัดสรร Address ในประเทศต่างๆ หากปราศจากซึ่งการร่วมมือก็จะไม่สามารถพัฒนาอินเทอร์เน็ตให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลกได้

ระบบการตั้งชื่อโดเมนหรือ DNS กำลังขยายตัว และมีศักยภาพหนุนเนื่องให้อินเทอร์เน็ตเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก และคาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเมื่อ 15 ปีก่อน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกนั้นมีเพียง 500 ล้านคนเท่านั้น แต่ทุกวันนี้มีผู้ใช้มากกว่า 3,000 ล้านคน และเกือบครึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผนวกกับสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาททำให้การใช้อินเทอร์เน็ตขยายตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

“นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ไอแคนได้ให้ชื่อของโดเมนขั้นสูงสุดใหม่มากกว่า 700 รายการ นี่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะการแสดงอัตลักษณ์และการมีที่พื้นที่ในโลกออนไลน์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทั้งบุคคล องค์กร และบริษัทต่างๆ ดังนั้นการเพิ่มจำนวนชื่อโดเมนขั้นสูงสุดจะทำให้วิธีการที่เราใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งวิธีการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับตราสินค้าและธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง นี่เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ที่ได้ก่อกำเนิดมา

e201

ฉบับที่ 201 เดือนกันยายน

เป้าหมายของ StartUp และการเลือก Exit

โปรแกรมโดเมนขั้นสูงสุดทั่วไปใหม่ (New gLTDs) จะเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของระบบการตั้งชื่อโดเมน และมีความสามารถที่จะเพิ่มโดเมนใหม่ได้ถึง 1,300 โดเมน โปรแกรมนี้ยังนำไปสู่การตั้งชื่อโดเมนขั้นสูงสุดทั่วไปในภาษาท้องถิ่นหรือ IDNs ด้วย จะทำให้สามารถใช้ตัวอักษรในภาษาหรือระบบการเขียนต่างๆ มาตั้งเป็นโดเมนเนมได้ ในโลกนี้มีภาษาต่างๆ มากกว่า 6,000 ภาษา ซึ่งราวร้อยละ 50 นั้น

ใช้กันอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความหลากหลายเช่นนี้เองที่ท้าทายต่อพื้นที่ของระบบโดเมนเนมแบบเดิม หากแต่ IDNs จะสามารถรองรับความแตกต่างทางภาษาให้ปรากฏบนอินเทอร์เน็ตได้ โดยตอนนี้มีโดเมนเนมขั้นสูงสุดทั่วไปในภาษาท้องถิ่น 61 รายการที่ออกมาให้ใช้ได้แล้ว และมีรหัสประเทศของโดเมนเนมขั้นสูงสุด 47 ชนิดครอบคลุมประเทศและเขตการปกครองถึง 37 แห่ง

สร้างไทยก้าวสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโลก ที่มีความหลากหลายทางภาษา
เมื่อเร็วๆ นี้ ไอแคนได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นในประเทศไทยเพื่อแนะนำโครงการ Internationalised Domain Name (IDN) หรือโครงการชื่อโดเมนในภาษาท้องถิ่นของไอแคน โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสพธอ. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการนี้ในประเทศไทย ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้มีผู้เชี่ยวชาญของไทยทั้งทางด้านนโยบาย เทคนิค และภาษาเข้าร่วม เพื่อก่อรูปคณะกรรมการการสร้างป้ายชื่อโดเมน (Label Generation Panel หรือ LGR) โดยมีเป้าหมายที่จะร่างระเบียบเพื่อจัดสรรและบริหารการจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นภาษาท้องถิ่นในประเทศไทย

โดยข้อมูลจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระบุว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยราว 35 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเข้าถึงร้อยละ 54 จากจำนวนประชากรทั้งหมด และทั้งประเทศมีโทรศัพท์มือถือราว 97 ล้านเลขหมาย และที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็มีจำนวนมาก ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า ตัวเลขเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอีกมากเมื่อมีการใช้ระบบโดเมนเนมขั้นสูงสุดและ โดเมนชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นในภาษาไทย

วรรณวิทย์ อาขุบุตร (ขวา) รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

วรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

สามาด ฮุสเซน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายโครงการชื่อโดเมน จากภาษาท้องถิ่น

สามาด ฮุสเซน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายโครงการชื่อโดเมน จากภาษาท้องถิ่น

สามาด ฮุสเซน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายโครงการชื่อโดเมนจากภาษาท้องถิ่น (Internationalised Domain Names (IDN) กล่าวว่า โครงการ IDN ก็คือ การจัดตั้งโดเมนเนมที่ใช้ตัวอักษรในภาษาที่มีอยู่หลากหลายทั่วโลก ซึ่งต่างก็มีระบบการเขียนที่ไม่เหมือนกัน IDN จะเพิ่มสมรรถนะของระบบอินเทอร์เน็ตให้รองรับภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย จีน ฮินดี ฯลฯ และผลักดันให้ก้าวเข้าสู่ความหลากหลายทางภาษา ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แก่คนหลายพันล้านทั่วโลกสามารถเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตได้

การใช้โดเมนเนมในภาษาท้องถิ่นจะทำให้ประชาชนทั่วโลกรวมทั้งคนไทยอีกเป็นจำนวนมากสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่ในการนี้มีความจำเป็นที่ชุมชนในแต่ละประเทศจะช่วยกันพัฒนาให้ระบบอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถรองรับตัวอักษรและระบบการเขียนที่ต่างกันไปได้ ดังนั้นการที่ชุมชนหรือองค์กรในแต่ละประเทศเข้ามามีส่วนร่วมกับไอแคนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งในภูมิภาคเอเชียขณะนี้ มีคณะกรรมการพัฒนาภาษาท้องถิ่นในการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่หลายคณะ ครอบคลุมทั้งภาษาอารบิค อาร์มีเนี่ยน จีน ญี่ปุ่น เขมร และนีโอ พราหมี ทั้งตัวอักษรและระบบการเขียน

เพิ่มโอกาสและการนำเสนอ ในรูปแบบที่ต่างออกไป
ทางด้าน วรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน การพัฒนาระเบียบเพื่อการจดโดเมนเนมด้วยตัวอักษรภาษาไทยจะเปิดโอกาสให้กับประชาชนไทยอีกเป็นจำนวนมากได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยได้ประกาศว่า ในปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งเศรษฐกิจดิจิตอล ในการนี้ สพธอ. ได้เริ่มเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานในด้านระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อหนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิตอลให้ได้ และเชื่อว่าการพัฒนาของโครงการนี้จะมีผลเป็นอย่างมากกับอนาคตของอินเทอร์เน็ตประเทศไทย

สำหรับตลาดประเภทการจดชื่อโดเมนเนมแบบเปิดกว้างให้บุคคลหรือหน่วยงานจดได้ โดยอิสระ ที่ไอแคนนำเสนอในรูปแบบใหม่นี้ ก็แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อโลกอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการนำเสนอช่องทางใหม่สำหรับผู้ใช้ทั้งในรูปแบบบริษัท แบรนด์ เมือง และผู้ประกอบการธุรกิจในทุกรูปแบบ ตัวอย่างที่ดีคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้ประสบความสำเร็จในการสมัครโดเมนด้วยชื่อ .SCB ซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการวางตลาดในโลกออนไลน์ และอาจจะกลายเป็นช่องทางใหม่สำหรับการบริการลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์ได้ เป็นอย่างดีอีกด้วย

สำหรับตลาดประเภทการจดชื่อโดเมนเนมแบบเปิดกว้างให้บุคคลหรือหน่วยงานจดได้โดยอิสระ ที่ไอแคนนำเสนอในรูปแบบใหม่นี้ ก็แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อโลกอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการนำเสนอช่องทางใหม่สำหรับผู้ใช้ทั้งในรูปแบบบริษัท แบรนด์ เมือง และผู้ประกอบการธุรกิจในทุกรูปแบบ ตัวอย่างที่ดีคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้ประสบความสำเร็จในการสมัครโดเมนด้วยชื่อ .SCB ซึ่งจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการวางตลาดในโลกออนไลน์ และอาจจะกลายเป็นช่องทางใหม่สำหรับการบริการลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

หวังผู้ใช้เข้าถึงชื่อโดเมนภาษาท้องถิ่น ทั่วถึงทั้งอาเซียน
เมื่อไม่นานมานี้ ไอแคนได้จัดเวิร์กช้อปที่คล้ายคลึงกันนี้ในกัมพูชา ลาว และพม่า  โดยที่กัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพัฒนาระบบแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาหลังการประชุม ขณะนี้กำลังร่างระเบียบต่างๆ สำหรับการเขียนโดเมนด้วยตัวหนังสือของเขมร ซึ่งทางกัมพูชาเองก็คิดว่า IDNs ส่งผลอย่างมากต่อชุมชนท้องถิ่น ประโยชน์ที่จะได้รับก็อย่างเช่น เพิ่มการเข้าถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาที่อิงอยู่กับอักษรลาตินเป็นภาษาหลัก กระตุ้นการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ เพิ่มโดเมนเนมในภาษาท้องถิ่นให้มากขึ้น เพิ่มประสบการณ์ออนไลน์ที่สะดวกสบายมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มชุมชนออนไลน์ให้หลากหลายและมีความเข้มแข็งมากขึ้น

ประชาชนได้ใช้ภาษาเขมรเป็นหลัก ปัจจุบันนี้ราว 1 ใน 3 ของกัมพูชาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ การนำเอาระบบตั้งชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นมาใช้ จะช่วยให้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะประชาชนกัมพูชาที่อยู่ในชนบท และสำหรับประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขคือ เรื่องความท้าทายสำหรับการสร้างป้ายชื่อโดเมนในภาษาท้องถิ่น การหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม และสามารถจะสละเวลาเข้ามาร่วมในการตั้งคณะกรรมการ

ภายในปี พ.ศ.2563 ไอแคนคาดหวังว่า 2 ใน 3 ของประชากรกัมพูชาจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เมื่อมีไฟฟ้าใช้ และสมาร์ทโฟนจะช่วยให้การใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นด้วย ตามการเพิ่มขึ้นของสมาร์ทโฟนราคาที่ถูกลงในตลาด บวกกับการขยายพื้นที่สัญญาณโทรศัพท์มือถือ 3G และ 4G ให้แก่ประชาชน และก็หวังว่าอินเทอร์เน็ตจะมีเนื้อหาสาระตอบสนองกับความสนใจของผู้ใช้ท้องถิ่นได้ รวมทั้งมีการทำหลักสูตรไอซีทีตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เริ่มสอนด้านนี้ให้เด็กในอายุที่ยังน้อยอยู่