เทรนด์การเจรจาธุรกิจใหม่
ใช้ออนไลน์เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น

ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวเว็บไซต์ Askkbank.com/aecplusmatching ให้นักธุรกิจไทยและต่างประเทศหาพันธมิตรทางธุรกิจ สร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างประเทศ หลังลงนามความเป็นพันธมิตรอาเซียน (ASEAN Alliance) เพื่อยกระดับการให้บริการของธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ระหว่างในทวีปเอเชียกว่า 40 ธนาคาร

พิพิธ เอนกนิธิ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

พิพิธ เอนกนิธิ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ตอนนี้ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมคนสูงอายุ ความต้องการกับจำนวนสินค้าในตลาดสวนทางกัน เพราะสินค้าส่วนใหญ่เหมาะกับวัยหนุ่มสาวและคนทำงาน ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงต้องหาตลาดใหม่ เพื่อกระจายสินค้า

เจอหน้ากันสู่หน้าจอ
พิพิธ เอนกนิธิ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากเดิมการทำ Business Matching เริ่มจากโลกออฟไลน์ มีการนัดเจอกันเพื่อเจรจาทางธุรกิจ โดยมีหน่วยงานดูแลจัดเวทีให้บริษัทและธุรกิจเอสเอ็มอีได้พบกันทั้งในและนอก ประเทศ ซึ่งธนาคารถือเป็นองค์กรหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือลูกค้าที่ เป็นบริษัทและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการทำ Business Matching อยู่แล้ว

สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กและยังไม่รู้จักสำหรับคู่ค้าต่างประเทศ ถ้าจะติดต่อทำธุรกิจกันข้ามชาติเป็นเรื่องยากมาก เพราะต่างไม่มีเครดิตให้เกิดการเชื่อใจกัน ธนาคารจึงมองว่า ควรเข้ามามีบทบาทในการช่วยผลักดันให้ลูกค้าเอสเอ็มอีสามารถค้าขายได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการจัดเวทีในการจับคู่ธุรกิจขึ้น และนำประสบการณ์ในการทดลองเลือกหลายอุตสาหกรรมในการนำมาทำโมเดลจับคู่เจรจาธุรกิจเป็นเวลาถึง 6 ปี ตั้งแต่ปี 2552 เช่น จีนต้องการซื้อมันสำปะหลังจากไทย และไทยอยากซื้อชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศจีน ส่วนจีนมีความต้องการซื้อชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น

โดยจัดงาน AEC+3 Summit & Expo 2014 ขึ้นในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากธนาคารพันธมิตรจำนวนกว่า 40 แห่งทั่วโลก ในการเชิญลูกค้ากลุ่มธุรกิจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 150 ราย โดยเป็นการจับคู่ 1 ธุรกิจ ต่อเอสเอ็มอี 100 ราย ในการเข้าพูดคุยเจรจากัน หลังจบงานสามารถจับคู่ธุรกิจได้จำนวนมากกว่า 500 คู่เจรจา คิดเป็นมูลค่าธุรกิจรวมกว่า 6,000 ล้านบาท ทำให้เห็นถึงความต้องการจำนวนมากในการค้าขายกับธุรกิจเอสเอ็มอีระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับการสำรวจแนวโน้มรูปแบบการเจราจาธุรกิจใหม่ พิพิธ กล่าว

จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2558 นี้ ด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความน่าสนใจกับจำนวนประชากร 600 ล้านคน ซึ่งนับเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และคาดว่าใน 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจใน AEC จะมีจีดีพีเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

นอกจากนี้ กลุ่มประเทศ AEC ได้ขยายการรวมตัวไปสู่ประเทศชั้นนำด้านเศรษฐกิจของเอเชีย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หรือ AEC+3 ซึ่งได้เข้ามาทำการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว

ออนไลน์เสริมทัพ AEC
จากการเห็นถึงความต้องการจำนวนมากในการค้าขายกับกลุ่มเอสเอ็มอีข้ามชาติ จึงทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้บริการ Business Matching ขึ้น และเปิดให้เครือข่ายพันธมิตรของธนาคารกว่า 40 ธนาคาร จากทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม จีน อินตาลี เกาหลีใต้ เยอรมนี และญี่ปุ่น เข้าร่วมใช้งานด้วยกัน โดยธนาคารพันธมิตรเหล่านี้จะช่วยคัดกรองบริษัทที่มีศักยภาพและมีเสถียรภาพ จากประเทศของตน เพื่อเข้าร่วมในบริการจับคู่ทางธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย

พิพิธ กล่าวต่อว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ Business Matching ได้พัฒนาขึ้นเรียกว่า AEC+ Matching เปิดให้บริการในรูปแบบเว็บไซต์ Askkbank.com/aecplusmatching.com เพื่อให้นักธุรกิจไทยและต่างประเทศหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างประเทศ สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2558

ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกสามารถเข้าไปหาข้อมูลเชิงลึกของผู้ซื้อและผู้ขายผ่านทางระบบออนไลน์ รวมถึงการส่งข้อความโต้ตอบในการเจรจาธุรกิจได้โดยตรงบนเว็บไซต์ดังกล่าว โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง รวมทั้งสามารถขอรับคำปรึกษาและข้อมูลจากธนาคารในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งวิธีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ

ภายในเว็บไซต์จะประกอบด้วยทั้งหมด 25 อุตสาหกรรม ที่นำมาบรรจุในฐานข้อมูล ให้คู่ค้าทางธุรกิจได้เข้ามาทำการจับคู่กัน เช่น สินค้าเกษตร ยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ ความงามและเครื่องบำรุงผิว เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่คัดเลือกคือ สิ่งที่มีความต้องการในตลาดภูมิภาค AEC+3 อยู่แล้ว โดยทีมงานได้ใช้ประสบการณ์ในการศึกษาอุตสาหกรรมต่างๆ มาร่วม 6 ปี ตั้งแต่ปี 2552 และนำมาออกแบบโครงสร้างในการทำ Business Matching ให้ตรงกับความต้องการของคู่ค้ามากที่สุด สาเหตุที่นำอุตสาหกรรมหลักเข้ามาก่อน เพราะต้องการให้ตลาดเกิดขึ้นอย่างชัดเจน

สำหรับเงื่อนไขของผู้ประกอบการธุรกิจที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ AEC+ Matching จะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย หรือลูกค้าของธนาคารพันธมิตร หรือลูกค้าองค์กรพันธมิตรของธนาคาร ดำเนินธุรกิจไม่ต่ำกว่า 3 ปี มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อปี โดยมีผลการดำเนินงานที่เป็นกำไรและมีวงเงินสินเชื่อที่ปราศจากประวัติหนี้เสีย และมีความประสงค์จะหาพันธมิตรทางธุรกิจในต่างประเทศ

“ข้อดีคือ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาเจรจา เพราะเจอบนแพลตฟอร์มนี้ได้ทันที และรู้ว่าคนกลุ่มนี้ธนาคารมีวงเงินรองรับที่จะขยายธุรกิจ ซึ่งดีกว่าวิธีเดิมที่ต้องใช้เวลา 1-2 ปี ในการหาคู่ค้าที่ไว้ใจและน่าเชื่อถือ”

การจับคู่ธุรกิจ ในอดีตจะต้องวางแผนเรื่องเวลา และต้นทุนในการเดินทางเพื่อมาพบกันกว่าจะเกิดความไว้ใจ และการจับคู่ธุรกิจส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจรายใหญ่ที่มีงบประมาณในการเดินทางไปเจรจากับคู่ค้าในต่างประเทศ แต่ส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะมีต้นทุนสูงมาก หากต้องเดินทางไปหาคู่ค้าในแต่ละประเทศ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

e196    

ฉบับที่ 196 เดือนเมษายน

ซื้อ-ขายใน AEC+6 ด้วยโมบายล์

เร่งสร้างความเชื่อใจ ปิดดีลธุรกิจได้เร็ว
“เมื่อก่อนลูกค้าจะหาคู่ค้า โดยแจ้งความต้องการกับธนาคารเพื่อจับคู่ธุรกิจให้ในรูปแบบออฟไลน์คือ การนัดเจอกันต่อหน้าในสถานที่จัดเตรียมไว้ให้ แต่ขณะนี้

ธนาคารสร้างเครื่องมือออนไลน์มาเป็นผู้ช่วยในการจับคู่ธุรกิจ โดยผู้ซื้อสามารถเลือกคู่ค้าเอง และพูดคุยกันได้ตลอดเวลา ทำให้ประหยัด สะดวก และรวดเร็ว”

พิพิธ กล่าวต่อว่า ข้อดีของการที่ธนาคารร่วมมือกันในการทำ Business Matching ออนไลน์บนแพลตฟอร์มนี้จะสร้างความไว้วางใจให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายระดับหนึ่ง เช่น บริษัท ก. อยู่ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ข. อยู่ประเทศไทย ซึ่งทั้ง 2 บริษัท เป็นสมาชิกในแพลตฟอร์มนี้แล้ว จึงเกิดความไว้วางใจระดับหนึ่ง เพราะทุกบริษัทที่เข้ามาจะต้องผ่านการคัดเลือกจากธนาคารก่อน โดยเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกจะเหมือนกันหมดทั้ง 40 ธนาคาร ดังนั้น ทั้ง 2 บริษัท จะมั่นใจแล้วว่าประวัติการทำการค้าของคู่ค้านั้นดีไม่มีหนี้สิน หรือช้าในการจ่ายเงิน

นอกจากนี้ เมื่อผู้ซื้อจากไทยสั่งสินค้ากับผู้ขายในประเทศญี่ปุ่นจำนวนมาก แต่ไม่มีเงินทุนในการผลิตให้เพียงพอกับจำนวนสั่งซื้อ จึงขอเปิด LC เพื่อขยายวงเงินกับธนาคารของตน เพื่อนำมาหมุนเวียนก่อนจะได้รับเงินจากการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อไทย ซึ่งอาจมีระยะเวลากำหนดจ่าย 3 เดือน ธนาคารที่จะให้ LC แก่ผู้ประกอบการรายนี้ง่ายขึ้น เพราะมั่นใจว่าจะได้รับเงินกลับมาแน่นอน ผู้ซื้อคนไทยรายนี้เป็นลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย โดยวิธีการนี้จะช่วยให้การเริ่มต้นทำการค้าข้ามชาติของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแต่ละประเทศง่ายยิ่งขึ้น เพราะต่างมีธนาคารคอยให้การสนับสนุนและรับรองความปลอดภัยในเบื้องต้น

พิพิธ กล่าวว่า คู่ค้าสามารถเลือกใช้ LC หรือไม่ใช้ก็ได้ หากมีการทำการค้าจนเกิดการไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยมีเพียงธนาคารในการดำเนินการโอนเงินให้เท่านั้น หากเกิดการผิดข้อตกลง ถ้าผู้ซื้อไม่จ่ายเงินให้กับผู้ขาย ธนาคารที่ผู้ประกอบการธุรกิจเปิด LC ให้นั้นจะต้องรับผิดชอบเงินทั้งหมดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน

เว็บไซต์ Askkbank.com/aecplusmatching เป็นแพลตฟอร์มช่วยให้คู่ค้าทางธุรกิจมาเจอกันง่ายขึ้นและทำการค้าขายทั้งในรูปแบบ LC หรือการโอนเงินให้กันด้วยความไว้วางใจ สิ่งที่แตกต่างคือ สามารถการันตีคู่ค้าได้ว่า เป็นผู้ประกอบการชั้นดีที่ไม่มีประวัติด้านหนี้เสีย หรือจ่ายเงินล่าช้า หรือหากสงสัยในประวัติทางการเงินของบริษัทคู่ค้า สามารถยื่นขอข้อมูลจากทางธนาคารในการตรวจสอบสถานะได้ทันที

การค้าอย่างเสรีออนไลน์กระตุ้นเศรษฐกิจ
พิพิธ เผยว่า หนึ่งในประเทศที่สนใจค้าขายและลงทุนในประเทศไทยคือ ญี่ปุ่น เมื่อมีการเปิดให้บริการ Business Matching บนแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้น จึงเป็นกลุ่มแรกที่ตอบรับการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายพันธมิตร

ตอนนี้รัฐบาลของญี่ปุ่นเห็นถึงความสำคัญของธุรกิจเอสเอ็มอี จึงเร่งสร้างโอกาสให้กับกลุ่มนี้เป็นอย่างมากเพื่อช่วยให้สามารถกระจายสินค้าออกสู่ตลาด

4

ถ้านำตลาดไทยและญี่ปุ่นมาจับคู่กัน สามารถช่วยผลักดันการทำธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างมาก เพราะประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องผลิตภัณฑ์ด้านสปาและ Health Care ซึ่งเหมาะกับตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเพราะมีผู้สูงอายุจำนวนมาก

ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากภาพสินค้าของประเทศญี่ปุ่นที่ทุกคนเห็นมานานคือ การเป็นประเทศอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ซึ่งแท้จริงชิ้นส่วนในการผลิตรถยนต์นวัตกรรมบางชิ้นส่วนถูกผลิตด้วยกลุ่มเอสเอ็มอี และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมอื่นๆ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารของญี่ปุ่นที่มีปริมาณมากและต้องการตลาดใหม่ในการรองรับปริมาณการผลิตที่ล้นตลาดในประเทศ เมื่อธนาคารกสิกรไทยได้เข้าไปพูดคุยกับหน่วยงานภาครัฐของญี่ปุ่นที่ทำงานเกี่ยวกับหอการค้าและการส่งออกสินค้า จึงได้รับการตอบรับเข้าร่วมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ AEC+ Matching

ตอนนี้ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมคนสูงอายุ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความต้องการกับจำนวนสินค้าในตลาดสวนทางกัน เพราะสินค้าส่วนใหญ่เหมาะกับวัยหนุ่มสาวและคนทำงาน ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงต้องหาตลาดใหม่ เพื่อกระจายสินค้าที่มีอยู่ในตลาดให้สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจภายในประเทศไม่สามารถเติบโตมากกว่านี้แล้ว

สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศเป็นสังคมของวัยทำงานและมีความสามารถเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถ้านำตลาดไทยและญี่ปุ่นมาจับคู่กัน สามารถช่วยผลักดันการทำธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อย่างมาก เพราะประเทศไทยขึ้นชื่อ

เรื่องผลิตภัณฑ์ด้านสปาและ Health Care ซึ่งเหมาะกับตลาดที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้ผลิตภัณฑ์ด้านสปาชื่อดังของไทย เช่น Harnn และปัญญ์ปุริ ได้รับความนิยมมากจนต้องเปิดสาขาที่ญี่ปุ่นแล้ว

แพลตฟอร์ม Business Matching จะช่วยให้การค้าขายในภูมิภาค AEC+3 นี้คึกคักและตอบโจทย์การผลักดันให้เกิดภาพการค้าเสรีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถหาคู่ค้ากับตลาดใหม่ได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น ในแต่ละประเทศจะมีจุดแข็งแตกต่างกันไป เมื่อสามารถค้าขายกันข้ามประเทศได้ จะทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเสรี หาสินค้าง่ายขึ้น ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อเจรจาทางการค้า ที่สำคัญผู้บริโภคได้สินค้าในราคาที่ถูกลงเพราะต้นทุนต่ำลง

ขณะนี้ ฟังก์ชั่นการทำงานเว็บไซต์ สามารถให้คู่ค้าธุรกิจทั้งผู้ซื้อและขายเข้ามาพูดคุยกันผ่านโปรแกรมแชตตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถเรียกดูประวัติและสินค้าบริษัทที่สนใจได้ สำหรับส่วนการส่งใบเสนอราคาและการโอนเงินให้กับคู่ค้า ยังไม่มีฟังก์ชั่น รองรับการทำงานส่วนนี้ เนื่องจากตอนนี้ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของธนาคารพันธมิตร ในการหาคู่ค้าและตลาดใหม่ เพื่อขยายธุรกิจได้รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยก่อน

เว็บไซต์บริการจับคู่ธุรกิจข้ามประเทศ เป็นบริการล่าสุดที่ธนาคารมุ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจไทย ซึ่งคาดว่าจะได้การตอบรับเป็นอย่างดี ขณะนี้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 300 บริษัท และตั้งเป้าภายในสิ้นปี 2558 มีจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 1,000 บริษัท

“ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารแห่งเดียวที่ให้บริการแบบครบวงจรด้านจับคู่ธุรกิจข้ามประเทศ ทั้งการสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านการขยายตลาด การหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ และการควบรวมกิจการ โดยธนาคารได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจของลูกค้าธนาคารไปยังคู่ค้าที่น่าเชื่อถือของธนาคารพันธมิตรในต่างประเทศ และในปีนี้จะมีธนาคารพันธมิตรเข้าร่วมอีก 3 ประเทศคือ บรูไน มาเลเซีย และสิงคโปร์”พิพิธ กล่าว