RISE Hongkong 2016, Startup Conference โอกาส สตาร์ทอัพไทย สู่เวทีระดับโลก

open2016 ปีแห่ง Digital Aging เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มกล้าเดินตามความฝัน และหันมาเปิดธุรกิจแบบ Startups ด้วยพลังไอเดีย พร้อมเติบโตเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ผู้เขียนจึงเกาะกระแสด้วยการร่วมงาน Tech Startup Conference งานสัมนาระดับโลกอย่าง RISE Hongkong 2016 RISE จัดขึ้นเมื่อ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ Hong Kong International Convention & Exhibition  Centre

โดยจุดกำเนิดของงานมาจากการแตกยอดกิจกรรมจากงานเทคโนโลยีที่จัดครั้งแรก เมื่อปี 2010 ที่ไอร์แลนด์ ในนาม “Web Summit” โดยเป้าหมายการจัดงานก็เพื่อสร้างคอมมูนิตี้สำหรับเหล่าสตาร์ทอัพที่มีความคิด และเส้นทางการทำธุรกิจคล้ายๆ กันให้มาพบปะ เกิดเป็นเครือข่ายขึ้น แม้ว่าการจัดงานครั้งแรกจะมีคนร่วมงานแค่ 400 กว่าคน แต่ Web Summit ปี 2015 ก็มีผู้เข้าร่วมงานพร้อมกันมากกว่า 42,000 คนจาก 135 ประเทศทั่วโลกที่ต้องการมาสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่ไอร์แลนด์ เช่นกัน สำหรับงาน RISE ที่ฮ่องกงนั้น สถิติผู้เข้าร่วมงานสำหรับปีนี้มีผู้ร่วมงานถึง 8,144 คน จาก 88 ประเทศ โดยผู้เข้าร่วมงานเหล่านี้ต่างมีทั้ง ซีอีโอ เจ้าของธุรกิจ นักลงทุน สถาบันการเงิน สื่อมวลชน และแน่นอนผู้ประกอบการรุ่นใหม่สตาร์ทอัพ

Tech Leader Conference ปลุกความรู้สตาร์ทอัพให้แน่น  
งานสัมนาระดับโลกที่ยกมาจัดเวทีกันถึงฮ่องกง ยังคงเป็นจุดขายของ RISE เสมอ ด้วยผู้นำด้านธุรกิจไอที และผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จต่างก็มารวมตัวกันถึง 220 คน เพื่อร่วมพูดคุยบนเวที Centre, โซน Enterprise, โซน Machine, โซน Builders และ โซน Startup University ในประเด็นต่างๆ ทั้งด้านการตลาด ด้านอีคอมเมิร์ซ เทรนด์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในโลก

Min-Liang Tan’s ชายหนุ่มชาวสิงคโปร์ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอบริษัท Razer Inc.

Min-Liang Tan’s ชายหนุ่มชาวสิงคโปร์ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอบริษัท Razer Inc.

ปาธกฐาเดี่ยวของ Min-Liang Tan’s ชายหนุ่มชาวสิงคโปร์ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอบริษัท Razer Inc. บริษัทด้าน Gaming Hardware มาเล่าถึงความสำเร็จของ Razer จนมี “The Cult of Razer” หรือสาวกที่ติดตามผลงานของบริษัท จนถึงขนาดบางคนเอาตัวโลโก้ Razer ไปทำเป็นรอยสักบนร่างกายของตัวเอง ซึ่งการขึ้นพูดของเขาได้มีการถ่ายทอดแบบ livestream และมียอดผู้ชมพร้อมกันถึง 79,575 คน

Michael Perry ตำแหน่ง Director of Strategic Partnerships จาก DJI

Michael Perry ตำแหน่ง Director of Strategic Partnerships จาก DJI

ส่วนอีกคนที่ได้รับการพูดถึงมากไม่แพ้กันอย่าง Michael Perry ตำแหน่ง Director of Strategic Partnerships จาก DJI เป็นปาธกฐาแรกเปิดงาน และสามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีอันล้ำของ DRONE หรือ UAV Technology (Unmanned Aerial Vehicle) ที่ขึ้นโชว์บนเวที  หัวข้อ “The Era of Drones and a Wave of Economic Gowth”  ได้เล่าถึงว่าอนาคตอันใกล้ จะเริ่มเห็นธุรกิจต่างๆ ใช้ DRONE ในส่วนของการผลิตผลงาน หรือบริการ ที่น่าสนใจคือ DRONE จะสามารถทดแทนบทบาทที่คนทั่วไปทำไม่ได้อย่างการติดตามหาจุดเกิดเหตุไฟไหม้ การใช้ในการวางแผนผังเมือง การสอดแนมแอบติดตามบุคคลหรือสิ่งของ หรือแม้แต่การติดตามถ่ายปลาวาฬกลางมหาสมุทรเพื่อนำมาวิเคราะห์ใช้ในการศึกษารักษาเพาะพันธุ์ปลาวาฬ

บันไดเน็ตเวิร์กของสตาร์ทอัพ สู่ปีกเงินลงทุนของ Investor
สตาร์ทอัพหลายคนทุ่มทุนบินข้ามทวีปเข้าร่วมงานก็เพื่อต้องการหาเครือข่ายหุ้นส่วนทางธุรกิจ หรือเมนเทอร์ที่สามารถชี้ทางให้เติบโตต่อได้ แต่แน่นอน สตาร์ทอัพจำนวนมากที่มุ่งมาในงานนี้ ก็เพื่อต้องการเจอแหล่งเงินทุน อย่างหน่วยงาน  Venture Capital (VC) และพวกนักลงทุนอิสระใจดีแบบ Angel Investor งานนี้ก็มีนักลงทุนอิสระชั้นนำจากทั่วโลกกว่า 400 คน บินข้ามน้ำข้ามทะเลมาพบกับเหล่าบรรดาสตาร์ทอัพ

RISE อำนวยความสะดวกให้กับสตาร์ทอัพที่อยากได้เงินทุนเพิ่มสำหรับธุรกิจ และนักลงทุนที่มองหาคนรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างกำไรให้กับเงินทุนของเค้า ด้วยการจัด “Office Hours” โซนมิตติ้งพูดคุยอย่างเป็นทางการ โดยมีสถิติการจองรอบนัดพบของสตาร์ทอัพและนักลงทุนถึง 720 รอบ ตลอดการเปิดงานสามวัน โดย Venture Capital ที่มีคำเรียกร้องอยากพบเจอจากสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมงานสูงสุด ได้แก่ 1. DigiByte Holdings 2. Know Your Customer และ 3. FengVest

ฉบับที่ 211 เดือนกรกฏาคม

แพลตฟอร์ม IoT หัวใจของข้อมูล

สตาร์ทอัพแข่งอวดแผนธุรกิจ My Taxi India คว้ารางวัล PITCH
การร่วมเปิดบูธกับในงาน RISE นอกจากจะเป็นการโปรโมตธุรกิจ หาลูกค้า หาพาร์ตเนอร์ สตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกก็ยังมีโอกาสขึ้นเวทีประลองการพรีเซ็นต์ผลงานบน Pitching Stage โดยสตาร์ทอัพแต่ละทีมจะมีเวลาเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น ในการนำเสนอแผนธุรกิจ แนวทางการทำตลาด และเรื่องราวของผลิตภัณฑ์บริการของตนเองให้ถูกใจคณะกรรมการในแต่ละรอบ

เมื่อผ่านการประชันผลงานแผนธุรกิจทั้ง 3 รอบแล้ว วันสุดท้ายของงาน RISE ในปี 2016 ก็ได้ My Taixi India จากประเทศอินเดียรับรางวัลชนะเลิศ คือ ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ พร้อมที่พักเพื่อเข้าร่วมงาน Web Summit เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส พร้อมเงินรางวัลอีก 250,000 ฮ่องกงดอลลาร์

My Taixi India จากประเทศอินเดียรับรางวัลชนะเลิศ

My Taixi India จากประเทศอินเดียรับรางวัลชนะเลิศ

My Taixi India เป็นแพลตฟอร์มบนแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ ที่ให้บริการแท็กซี่ข้ามเมือง ซึ่งเป็นตลาดที่ในปัจจุบันยังไม่มีการจัดการที่เป็นระบบในอินเดีย มีมูลค่าตลาดอยู่ถึง 15 ฺBillion US Dollar โดยสามารถบริการถึง 119 เมือง 10,000 เส้นทางทั่วประเทศอินเดีย ดังนั้น เพราะไอเดียที่สดใหม่ เข้าใจตลาดท้องถิ่น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ต่างจาก UBER จึงทำให้  My Taixi India คว้ารางวัลนี้ไป

Startups ไทย โชว์ผลงานบนสนามอินเตอร์
RISE ชาญฉลาดกับการจัดบูธของสตาร์ทอัพทั้งสามวันแบบไม่ให้ซ้ำกันสักวัน สตาร์ทอัพที่ลงทุนออกบูธจะสามารถเปิดบูธของตัวเองเพื่อโชว์ผลงานได้หนึ่งวัน และแถมตั๋วฟรีให้ได้เข้างานพร้อมฟัง     สัมมนาทั้ง3 วันเต็ม เปิดโอกาสให้พบผู้นำไอที นักลงทุน และสื่อมวลชนระดับนานาชาติ โดยมีสตาร์ทอัพกว่า 435 บริษัทจากทั่วโลกร่วมออกแสดงผลงาน แบ่งเป็นโซน “ALPHA”Eearly-Stage Startups 350 บริษัท, โซน “BETA” Later-Stage 50 บริษัท และ โซน “START” Growth-Stage Startups 35 บริษัท เมื่อผู้เขียนลัดเลาะตลอดงาน 3 วัน ก็ยินดีที่ได้เจอกับสตาร์ทอัพไทยคนเก่งในงาน RISE

DOONEE ธุรกิจไทย SVoD เจ้าเดียวในงาน
Doonee เจาะตลาดในประเทศไทยเป็นหลัก แต่การมาร่วมงาน RISE ครั้งนี้ ก็น่าเซอร์ไพรส์เพราะคนเข้าออกเต็มบูธตลอดทั้งวัน กับโซน Growth-stage “START” Startups

คุณโจ้ ซีอีโอ Doonee

คุณโจ้ ซีอีโอ Doonee

คุณโจ้ ซีอีโอ Doonee เล่าว่า Doonee เปิดธุรกิจมา 1 ปีครึ่งแล้ว มีบริการ Subscription Video on Demand (SVOD) หรือ Video Streaming Online Platform พร้อม Subscription Model และ Advertising Model แบบฟรีๆ และจ่ายตังค์เพียงแค่ 150 บาทต่อเดือน โดยสมาชิก Doonee สามารถรับชมวิดีโอจากฮอลลิวูดแบบพรีเมี่ยม ซีรี่ส์เกาหลี การ์ตูน สารคดี

“ปีที่แล้วมี User อยู่ประมาณหนึ่งแสนคน  ส่วนปีนี้ เพียงแค่ไตรมาสเดียวก็มี User ถึงหนึ่งแสนคนแล้ว ที่ User เพิ่มจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากกระแสที่คนเริ่มสนใจหาความบันเทิงผ่าน Vdeo Steaming ทาง Doonee ได้ซื้อลิขสิทธิ์วิดีโอเหล่านี้จากบริษัทอย่างถูกลิขสิทธิ์ เพื่อนำคอนเทนต์มาใช้บนแพลตฟอร์ม และมีการอัพเดตวิดีโอใหม่ๆ ทุกสัปดาห์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดตามรับชมได้ตลอดเวลา”

คุณโจ้ เล่าว่า ปัจจุบัน User เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ เน้นเข้าชมคอนเทนต์ผ่าน Smart Devices อย่าง ไอแพด แท็บเล็ต เพราะหน้าจอใหญ่ พกพาสะดวก ในส่วนช่องทางบริการอื่นๆ นั้น Doonee เป็นพาร์ตเนอร์กับ AIS Playbox, Samsung Smart TV และ Smart TV หลายๆ ยี่ห้อ ซึ่งลูกค้าสามารถจ่ายเงินผ่าน Line Pay Paypal หรือโอนเงินผ่านธนาคาร และเคาน์เตอร์บริการของ 7Eleven และ BigC

Hoolanna, Handmade and DIY Community Platform
Hoolana แพลตฟอร์มที่ต้องการส่งเสริมผลงานของคนไทยสู่ตลาดอินเตอร์ มากกว่าแค่ส่งเสริมการค้าขาย แต่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าให้เป็นคอมมูนิตี้” คุณเมอริล สาวสวยเก่งเจ้าของ Hoolana ที่เริ่มธุรกิจได้ 6 เดือน ก็มีโอกาสเข้าร่วมงาน RISE จากการชวนของเพื่อนสนิทผ่านช่องทาง Women in Tech ที่ใครก็สามารถแนะนำคนรู้จักที่เป็นนักธุรกิจหญิงด้านไอทีให้เข้าร่วมงาน RISE ได้แบบฟรีๆ

 

คุณเมอริล เจ้าของ Hoolana และทีมงาน

คุณเมอริล เจ้าของ Hoolana และทีมงาน

Hoolana.com แพลตฟอร์มสำหรับผู้หลงใหลของแฮนด์เมด เครื่องประดับ และงานศิลปะ โดยมีฟีเจอร์สำหรับร้านค้าที่มีสินค้า และผู้ซื้อที่ต้องการได้ของถูกใจ สามารถสั่งซื้อของขวัญออนไลน์พร้อมบริการส่งในทันที อีกทั้ง ยังเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลสำหรับอีเวนต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ แฮนด์เมต Hoolana จะอำนวยความสะดวกเรื่องการจองพื้นร้านค้าในงาน และช่องทางการจ่ายเงิน ซึ่งตอนนี้ Hoolana มีพาร์ตเนอร์ร้านค้าทั้งจาก เวียดนาม ลาว และญี่ปุ่น ที่สามารถติดต่อมาให้ร่วมงานอีเวนต์ได้ รวมทั้ง ยังสามารถช่วยโฆษณาอีเวนต์ต่างๆ ให้กับสมาชิกของ Hoolana ผ่านทางอีเมลได้อีกด้วย

เมอริล เล่าว่าได้เริ่ม Hoolana เป็นคอมมูนิตี้แพลตฟอร์มสำหรับผู้รักการซื้อ-ขาย ประดิษฐ์ของทำมือ งานศิลปะ นอกเหนือจากจะมีบล็อกสำหรับสมาชิก เพื่อให้สร้างโปรไฟล์โชว์ผลงานส่วนตัวได้แล้ว ก็ยังมีช่องทางบนหน้าเว็บไซต์เพื่อให้สมาชิกสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และยังจะมีกิจกรรมต่างๆ อย่าง งานเวิร์กชอป งานแฟร์ขายของ  เน้นกลุ่มลูกค้าอายุ 18 – 35 ปี

“คนไทยมีฝีมือด้านศิลปะ และผลงานเก่งๆ มากมาย แต่ว่ายังไม่มีช่องทางที่สามารถโชว์ผลงานได้อย่างเต็มที่ มีศิลปินชาวไทยโชว์ผลงานผ่านเว็บไซต์ต่างประเทศบ้าง แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้น Hoolana จะเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้คนไทยที่มีผลงานมารวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง และเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศได้ ด้วยฟังก์ชั่นการแปลภาษาบนแพตฟอร์มจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่มีอุปสรรคด้านภาษาอังกฤษได้ในอนาคต และภายในสิ้นปี Hoolana จะมีร้านค้า 6,000 กว่าร้านค้าที่จะลงสินค้าบนหน้าเว็บไซต์” คุณเมอริล กล่าว

สตาร์ทอัพไทยที่เข้าร่วม RISE ต่างก็มีไอเดียด้านบริการและผลิตภัณฑ์หลากหลาย พร้อมแผนธุรกิจที่เฉียบคม อย่าง Ruckdee, healthcare Crowdfunding และ Cook It Delivery ก็มาแสดงผลงานด้วย

Ruckdee, Healthcare Crowdfunding เป็นแพลตฟอร์ม Crowdfunding เป็นตัวกลางระหว่างเจ้าของโปรเจ็กค์ กับนักลงทุน โดยทั่วไปโครงการที่เกี่ยวกับผลิตสินค้า และบริการด้านการแพทย์ สาธารณะสุข หรือ Wellness ต้องการเงินลงทุนจำนวนสูงมาก โดย Ruckdee จะเป็น Incubator ที่ช่วยฟูมฟักโปรเจ็กต์ต่างๆ พร้อมช่วยเล็งหาตลาดนักลงทุนที่เหมาะสมที่จะสามารถลงเงินทุนให้ได้

ส่วน Cook It Delivery บริษัทของคนรุ่นใหม่ ที่เปิดแพลตฟอร์มบริการชุดทำอาหารส่งตรงถึงบ้าน โดยจัดส่งส่วนผสม อุปกรณ์การทำอาหารหลายหลากเมนูผ่านเว็บไซต์ ก็มาร่วมงาน RISE เพื่อหาคอนเน็คชั่น และพาร์ตเนอร์ใหม่เพื่อต่อโอกาสทางธุรกิจ

อัมรินทร์ ซีอีโอจาก Hubba Thailand Co-Working Space

อัมรินทร์ ซีอีโอจาก Hubba Thailand Co-Working Space

ท้ายสุด ผู้บริหารรุ่นใหม่อย่าง คุณเอม อัมรินทร์ ซีอีโอจาก Hubba Thailand Co-Working Space ชื่อดังจากไทย ก็กล่าวถึงความประทับจากงาน RISE ว่า เป็นงาน Tech Conference แห่งภูมิภาคที่รวมตัวผู้นำด้านไอทีสตาร์ทอัพระดับท้อปในเอเชีย เฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน และบินไกลมาจากอเมริกา

“งานนี้เป็นโอกาสยิ่งใหญ่ที่ทำให้สร้างมิตรภาพใหม่ๆ และให้เพื่อนเก่ามาเจอกัน พร้อมอัพเดตข้อมูลเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นจากผู้เข้าร่วมงาน และบรรดาผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ คุณเอมจะได้นำมาประยุกต์กับงาน Techsauce Summit ที่จะจัดขึ้นวันที่ 23 -24 กรกฎาคมนี้ที่ Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld กรุงเทพฯ ก็จะเป็นอีกงานอีเวนต์สำหรับสตาร์ทอัพไทยงานแรก ที่ไม่ต้องบินไปไกลถึงต่างประเทศ แต่ก็จะได้รับประสบการณ์และโอกาสทางธุรกิจเช่นเดียวกับงาน RISE Hongkong พร้อมสามารถกระทบไหล่ผู้นำทางไอทีสตาร์ทอัพระดับโลกได้เช่นกัน” คุณเอม กล่าว

การที่คนรุ่นใหม่ต่างมีไอเดีย พร้อมความสามารถคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บริการ และวางแผนธุรกิจเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ประเด็นคือ การจะเดินไปบนเส้นทางนี้อย่างไรให้สำเร็จอย่างไอทีเจ้าอื่นๆ ที่อยู่บนตลาดโลกแล้ว สตาร์ทอัพจะต้องวิ่งเข้าสู่โอกาส เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การร่วมงาน RISE จึงมากกว่าเข้าฟังงานสัมมนาทั่วไป อย่างสตาร์ทอัพที่ชนะรางวัล PITCH ในงาน ก็ไม่ได้วัดความสำเร็จแค่ตัวเลขจากจำนวนเงินรางวัล แต่การกล้าขึ้นเวทีระดับโลก – เอเชียนั้น สามารถสร้างแพลตฟอร์มของตนเองให้เป็นที่รู้จักในระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว และยังสะท้อนว่าแนวทางธุรกิจที่ตนเองทำนั้นต้องประสบความสำเร็จในระยะยาวได้อย่างมั่นคงแน่นอน

[efspanel style=”” type=””]
[efspanel-header]
Contributor
[/efspanel-header]
[efspanel-content]
บงกชสรวง ดวงแก้ว (รัก)

จบการศึกษาปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาภาษาจีน และมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาสื่อสารมวลชน ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโท จากประเทศจีน และทำงานล่ามกับองค์กรเอกชนจีน

Website: Ruk_cena@hotmail.com

[/efspanel-content]
[/efspanel]