การทำธุรกิจของกลุ่ม Startup จำเป็นต้องใช้เงินทุนในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ VC เป็นตัวเลือกที่มีบทบาทสำคัญ แต่ VC เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยง
ทางเลือกการลงทุนของคนยุคใหม่
ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC) นั้นถือเป็นแหล่งเงินทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถช่วยสนับสนุนด้านการเงินให้แก่ธุรกิจได้ นอกเหนือจากสถาบันการเงินอย่าง เช่น ธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าไปซื้อหุ้นในกิจการหรือธุรกิจใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเหล่าบรรดา Startup ที่กำลังมาแรง และดูมีศักยภาพในการเติบโตสูง อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมและให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ร่วมลงทุนสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จะมีกำหนดระยะเวลาของการลงทุนที่แน่นอนในลักษณะกองทุนระยะยาว 3-5 ปี และนานสุดไม่เกิน 10 ปี เพราะในท้ายที่สุด VC ก็ต้องหาทางออกหรือถอนตัว (Exit) จากธุรกิจ ตามแนวทางหลักๆ คือ การนำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายหุ้น IPO ซึ่งเป็นวิธีที่ VC ให้ความสนใจและถือเป็นจุดประสงค์สูงสุด หรือการขายหุ้นบริษัทโดยตรงให้กับผู้อื่น ซึ่งอาจจะไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก และสุดท้ายคือการขายหุ้นคืนให้กับบริษัทที่เข้าไปร่วมลงทุน
Unicorn เน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ Startup แบบแมลงสาบ เน้นการปรับตัวและการอยู่รอด
จากการศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศของ GEDI (Global Entrepreneurship Development Institute) ในปีล่าสุดพบว่า Startup ไทยมีศักยภาพอยู่ที่ค่าเฉลี่ยของโลก และเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของอาเซียนเล็กน้อย แต่สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ (Ecosystem) ของประเทศไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนา Startup ทำให้ไม่สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ จำนวน Startup ที่มีคุณภาพและน่าลงทุนจึงมีอยู่อย่างจำนวนจำกัด
500 Startup และ 500 TukTuks เพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
Dave McClure ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกองทุน 500 Startups ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับ Startup ในแถบเอเชียว่า เป็นกระแสที่กำลังได้รับความนิยมและจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกใน 2-3 ปีข้างหน้า โดยที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนนั้นจะเป็นประเทศที่น่าจับตามองและกลายมาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอนาคต ซึ่งเงินทุนอีกเป็นจำนวนมากก็จะมาจากประเทศจีน และสำหรับประเทศไทยก็กำลังมีการเติบโตของ Startup ที่น่าสนใจ จากการที่ทางภาครัฐหันมาให้การสนับสนุน ก็จะช่วยส่งผลดีและทำให้ Startup เติบโตได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ในขณะที่กองทุน 500 TukTuks ที่อยู่ในความดูแลของกระทิง พูนผล และณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ เป็น กองทุนย่อยของกองทุนใหญ่ 500 Startups ซึ่งทุกครั้งที่จะมีการลงทุน ก็จะรายงานเข้ามาที่กองทุนใหญ่ และถ้ามีความน่าสนใจ 500 Startups จะร่วมลงทุนด้วยทันที โดย Startup ทั่วโลกที่กองทุนให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ FinTech, EduTech และ Real Estate Tech
เรืองโรจน์ พูนผล และ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ สองผู้คร่ำหวอดในวงการสตาร์ทอัพของเมืองไทย และผู้บริหารกองทุน 500 TukTuks กล่าวเสริมว่า ทาง 500 TukTuks นั้นดำเนินการมากกว่า 2 ปีแล้ว โดยมีความต้องการที่จะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในประเทศไทย และการลงทุนเพิ่มเติมใน Batch ที่ 2 ก็ผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งเมื่อรวมกับการลงทุนใน Batch แรก มีจำนวน Startup ที่ 500 TukTuks ลงทุนไปแล้วกว่า 20 ราย รวมเป็นเงินกว่า 70 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมี Startup ที่อยู่ในระหว่างการเจรจากับอีก 2 ราย ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้
![]() |
ฉบับที่ 210 เดือนมิถุนายนFinTech 2.0 การเงินคลื่นลูกใหม่ |
“หลังจากจบการลงทุนใน Batch ที่ 2 แล้ว 500 TukTuks ก็จะเริ่มต้น Batch 3 โดยทันที ซึ่งจะมีการลงทุน Startup อีกจำนวน 10-12 รายในปีนี้ ซึ่งความตั้งใจของกองทุน 500 TukTuks คืออยากลงทุนใน Startup ให้ได้ถึง 500 รายในปี 2020 ที่เป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะยิ่งมี Startup มากเท่าไร นั่นหมายถึงโอกาสที่จะมี Startup ประสบความสำเร็จจะเพิ่มขึ้น”
ทำความเข้าใจตลาดก่อนการลงทุน
มาทางฝั่ง VC รายอื่นๆ โดย ธนฉัตร ตั้งศรีวงศ์ Investment Manager ของ Cyber Agent Ventures ซึ่งเป็น VC จากญี่ปุ่น ได้กล่าวไว้บนเวทีการเสวนา หัวข้อ “Thai Startup Investment Opportunities: the Road Ahead” ของงาน Startup Thailand 2016 ที่ผ่านมาว่า Cyber Agent Ventures มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ และเป็นเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตมากมายหลายอย่างในหลายๆ ประเทศ ทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย ที่ไม่ได้นำเสนอเงินทุนให้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีทั้งความชำนาญและความเชื่อ พร้อมกับคอยให้คำปรึกษาจนสามารถที่จะทำให้ธุรกิจ Startup เริ่มต้นจาก 0 และเติบโตขึ้นมาได้ เพราะ Cyber Agent Ventures ก็ถือว่าเริ่มจาก 0 มาก่อน อาจจะมี VC ที่เน้นทางด้าน FinTech เช่น สถาบันทางการเงิน แต่สำหรับ Tech Startup นั้น มีสิ่งที่เรียกว่า Smart Money กับ Dumb Money คือเงินโง่กับเงินฉลาด ซึ่งถ้าเป็น Smart Money ก็คือการให้คำปรึกษา คำแนะนำ ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถทำได้ดีในตลาด
ในแง่ของระดับประเทศ ก่อนที่ Cyber Agent Ventures จะลงทุนในตลาดใดก็ตาม จะมีการทำวิจัยภายในทีมว่าจะเจาะจงไปที่ด้านใดของในแต่ละประเทศ และจะมีการประเมินในหลายๆ ด้าน ซึ่งก่อนที่จะลงทุนในประเทศนั้นๆ ก็จะให้คะแนนก่อนว่าตรงจุดใดเป็นจุดที่เหมาะสมที่จะลงลึกไปกับการมองหา Startup ที่อยู่ในตลาด ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะมีจุดแข็งจุดอ่อนไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็จะไม่ฝืนทำอะไรที่รู้สึกว่าเป็นตลาดที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้จะเป็นความเชี่ยวชาญของ Cyber Agent Ventures ก็ตาม และเมื่อดูในประเทศอื่นๆ จะเห็นได้ว่า Cyber Agent Ventures ลงทุนในบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเกม ไม่ว่าจะเป็นโมบายล์เกมหรือออนไลน์เกม แต่พอเข้ามาในประเทศไทย สภาพตลาดก็แตกต่างกันออกไปพอสมควร ไม่เหมือนกับที่ญี่ปุ่นหรือจีน ก็จะต้องไปเจาะตลาดอื่นแทน
“ก่อนที่เราจะลงทุนในประเทศไหนๆ เราจะทำการหาข้อมูลตรงนี้ก่อน เราอยู่ในประเทศนี้เรารู้ว่าตลาดต้องการอะไร เขาบอกเราได้โดยตรงว่าเขาต้องการอะไร ซึ่งก็ต้องอาศัยคนในพื้นที่ที่เขาจะสามารถบอกปัญหาได้ดีกว่า ซึ่งในทุกประเทศมีปัญหาเสมอ เราก็มักที่จะให้ความสำคัญกับตัวปัญหา และดูว่า Startup เหล่านั้นสนใจที่จะแก้ในตัวปัญหาอย่างไร อย่างในประเทศไทยที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เวลาจะซื้อเสื้อผ้าก็นิยมซื้อจากโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง Facebook, Line หรือ Instagram แต่ไม่ค่อยเข้าไปซื้อในเว็บไซต์อย่าง Zalora ซึ่งในจุดนี้บางทีนักลงทุนต่างชาติอาจจะยังไม่เข้าใจ”
VC ค้นหา Startup เจ๋งๆ จนเจอได้อย่างไร
ทางด้าน Jeffrey Paine ผู้ร่วมก่อตั้ง Golden Gate Ventures เผยถึงแนวทางในการมองหา Startup ที่มีฝีมือว่า โดยปกติแล้วจะมีทั้ง Startup ที่เข้ามามาหาเอง และอีกส่วนหนึ่งคือมาจากการบอกต่อซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าให้เราลองคิดดูว่าเวลาเพื่อนแนะนำให้ไปซื้ออะไร เพื่อนเราเป็นคนแนะนำกับพนักงานขายเป็นคนแนะนำ เราเลือกที่จะจะเชื่อใครมากกว่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง VC เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง การบอกต่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ หรืออย่างของเราที่ได้รู้จักกับทาง dtac และเชิญให้ไปเป็นกรรมการตัดสินในโครงการ dtac Accelerate ทำให้ได้รู้จักหรือค้นพบ Startup รายใหม่ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าการไปพบไปเห็นอะไรแล้วก็จะลงทุนในทันที ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในตัวธุรกิจนั้นๆ ให้ดีก่อน เช่น ถ้าเราไม่มีความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีการเกษตร เราก็ไม่ไปลงทุนในเรื่องนั้น หรือเปรียบเสมือนเป็นการแต่งงานกันเพื่อหาคู่ชีวิตว่าจะสามารถเข้ากันได้หรือไม่
“ถ้าจะไปลงทุนก็ต้องทำงานกับคนที่คิดว่าเราจะไปช่วยเขาได้ ผมคิดว่าการออกไปค้นหาคือการไปใช้เวลากับชุมชนของเขา สำหรับตัวผมเองก็ใช้เวลาอยู่กับผู้พัฒนาธุรกิจในหลายๆ เมือง หลายๆ ภูมิภาค ใช้เวลาในการให้คำแนะนำ ถึงแม้บางคนอาจจะไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจที่ดีก็ได้ ผมก็พยายามที่จะทำให้ได้มากที่สุด พยายามหาคนที่มีวิสัยทัศน์เหมือนกันในการแก้ไขปัญหาอะไรสักอย่าง เราเข้าใจในวิสัยทัศน์ของเขา เราเห็นด้วยและอยากทำด้วย แต่แทนที่ผมจะทำเอง ก็สนับสนุนเงินทุนให้เขาทำ ที่สำคัญคือ อยากเห็นคนที่มีแรงจูงใจมากพอที่จะไม่ล้มเลิกความตั้งใจกลางคัน ต้องแสดงให้เห็นว่าทำได้ ความสามารถในการที่จะปรับเปลี่ยนอะไรอยู่เสมอนั้นเป็นความสามารถที่หายาก นั่นคือบุคลิกของบุคคล ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราต้องตรวจสอบด้วยเช่นเดียวกัน เพราะต้องเราทำงานร่วมกันไปอีกนาน”
ทั้งนี้ Jeffrey ได้กล่าวถึงข้อคิดสำหรับ Startup ไว้ว่า ในวงการ Startup นั้น บริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือที่เรียกกันว่า Unicorn เป็นความใฝ่ฝันที่ Startup อยากทำกันให้ได้ แต่ความเป็นจริงแล้วนักลงทุนอาจมอง Startup แบบแมลงสาบมากกว่า เพราะ Startup แบบ Unicorn เน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ Startup แบบแมลงสาบ เน้นการปรับตัวและการอยู่รอด มีความยืดหยุ่นตามภาวะที่ต้องเผชิญ และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถอยู่รอดและก้าวไปข้างหน้าได้อยู่เสมอ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้เติบโตเร็วนักในช่วงเริ่มแรก แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องรายได้และผลกำไรตั้งแต่เริ่มต้น ระมัดระวังการจับจ่ายใช้เงินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะสิ่งที่นักลงทุนต้องการอย่างมากจากบริษัทที่เลือกจะลงทุนด้วยก็คือการเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง
[efsrow]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[/efsrow]
[efsrow]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[/efsrow]