คุ้มครองลูกบนโลกออนไลน์ หน้าที่ใหม่ที่พ่อแม่ต้องรู้

อรอุมา วัฒนะสุข ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

อรอุมา วัฒนะสุข ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

พ่อแม่ควรมีความพร้อมในการรับมือกับภัยต่างๆ ที่แฝงมากับโลกออนไลน์ โดยการศึกษา ทำความเข้าใจ เพื่อให้รู้เท่าทันกับความเป็นไปบนอินเทอร์เน็ต อย่างน้อยจะได้แนะนำ ตักเตือน และปกป้องลูกจากอันตรายของการออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย

แม้ว่าเราจะสามารถลบข้อความหรือรูป ที่อยู่บนโลกออนไลน์ได้ แต่ก็ไม่มีทางรู้ว่าก่อนหน้านั้น ข้อความหรือรูปภาพต่างๆ ได้ถูกดาวน์โหลดและส่งต่อกันไปโดยบุคคลอื่นอีกหรือไม่ โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่น ส่วนใหญ่มักเปิดเผยความเป็นส่วนตัวให้คนแปลกหน้าได้รับรู้

เมื่อภัยออนไลน์กระจายอยู่ใกล้ตัว
พ่อแม่คือ ส่วนที่สำคัญที่จะปลูกฝัง และสร้างการรับรู้เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้กับลูก แต่ผลสำรวจของเทเลนอร์ กรุ๊ป กลับพบตัวเลขที่น่าตกใจ คือเด็กกว่า 59 เปอร์เซ็นต์ หันหลังให้พ่อแม่และเลือกที่จะปรึกษาเพื่อน หรือคนที่ไม่รู้จักบนโลกอินเทอร์เน็ตแทน และเด็กกว่า 48 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีภูมิคุ้มกันตนเองและเสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) โดยมีแนวโน้มที่สูงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ ดีแทค ร่วมกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย จัดทำหนังสือ “dtac Parent Guide” คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิทัล เข้าใจลูก เข้าใจโลกไซเบอร์ ภายใต้โครงการ Safe Internet อินเทอร์เน็ตปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ช่วยทำให้พ่อแม่เข้าใจอินเทอร์เน็ตและเข้าใจลูกในยุคดิจิทัลมากขึ้น

“เราต้องการสร้างภูมิคุ้มกันและความเท่าทันให้กับเด็กและเยาวชน ขณะที่พ่อแม่ก็ต้องมีการกำหนดกติกากับลูก เลือกคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับลูก พ่อแม่เคยรู้หรือไม่ว่ามี YouTube Kids ซึ่งจะสกรีนคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมออก เพราะโฆษณาที่ขึ้นมาในบางครั้งก็ไม่เหมาะสม” อรอุมา วัฒนะสุข- ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าว

สามารถดาวโหลดน์ไฟล์ได้ที่นี่

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์

Cyberbullying กลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ตลกร้ายที่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
จากผลสำรวจคนไทยบนโลกออนไลน์ โดยทางดีแทค ได้ร่วมกับ จส.100 ในการสำรวจความคิดเห็นของคนออนไลน์จำนวนกว่า 34,000 คน พบตัวเลขและความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ที่น่าสนใจ คือ 1) กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ รู้ว่ามีการ Cyberbullying และมองว่าปัญหานี้รุนแรงต่อสังคม 2) 55 เปอร์เซ็นต์ เห็นการทำ Cyberbullying ในรูปแบบแอบถ่ายรูปคนอื่นแล้วนำไปโพสต์เม้าท์กับเพื่อน รองลงมาคือ 19 เปอร์เซ็นต์ เอารูปไปตัดต่อล้อเลียน และ 15 เปอร์เซ็นต์ ถูกสวมรอยสร้างโปรไฟล์ปลอม 3) 54 เปอร์เซ็นต์ เคยเป็นส่วนหนึ่งของ Cyberbullying ด้วยการโพสต์แกล้งเพื่อนขำๆ รองลงมา 26 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกว่าก็แค่แสดงความคิดเห็นลงไปในรูปหรือข้อความที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเองเพื่อความสนุก และ 20 เปอร์เซ็นต์ แชร์ช่วยสังคมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าทำลายสังคมให้แย่ลงกว่าเดิม และ 4) 74 เปอร์เซ็นต์ เรียกร้องให้สร้างจิตสำนึกในสังคมออนไลน์ เพื่อลดปัญหา Cyberbullying รองลงมา 26 เปอร์เซ็นต์ หยุดโพสต์ หยุดแชร์ในเรื่องที่ไม่รู้จริง

ฉบับที่ 213 เดือนกันยายน

Life of Angel & Venture Capital เส้นทางที่ไกลกว่าเงินทุน

Cyberbullying ถือว่าเป็นปัญหาระดับโลกที่หลายประเทศให้ความสำคัญ จนได้ร่วมกันจัดตั้งวันต่อต้านการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ (STOP Cyberbullying Day) โดยถือเอาวันศุกร์ที่สามของเดือนมิถุนายนเป็นวันรณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจและป้องกันไม่ให้เกิดผู้กระทำและสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อของ Cyberbullying ในปีนี้จึงได้จัดแคมเปญรณรงค์ภายใต้ชื่อ “ใช้หัวคลิก รณรงค์เพื่อหยุดรังแกกันบนโลกออนไลน์”

“Cyberbullying จะเป็นปัญหาที่เด็กไทยเผชิญอยู่และมีอัตราการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นมหันตภัยเงียบที่เด็กอาจจะทำหรือโดนกระทำอย่างไม่รู้ตัว สำหรับดีแทค ในปีนี้เราจะเน้นพัฒนาบริการและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ การทำเวิร์ก-ช้อปกับเด็กประถม เด็กมัธยมต้นและปลาย พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงการจัดตั้ง Chat Line เพื่อเป็นแหล่งที่รวมข้อมูลเกี่ยวกับโลกออนไลน์ และเสนอแนะทางออกให้ทุกคนสามารถปกป้องตัวเองจากปัญหา Cyberbullying ได้ ซึ่งน่าจะเสร็จภายในปลายปีนี้”

“คิด” ก่อนโพสต์บนสังคมออนไลน์ พ่อแม่อาจเป็นผู้ร้ายทำลายลูก
พ่อแม่เอง ควรเริ่มต้นถามกับตัวเองก่อนว่า ควรเขียนข้อความหรือรูปภาพที่กำลังจะโพสต์นั้นหรือไม่ การใช้เวลาในการทบทวนความคิดก่อนตัดสินใจเขียนอะไรลงไปบนโลกออนไลน์ ถือเป็นความรับผิดชอบอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าหากข้อความหรือรูปภาพเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้ผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะเมื่อโพสต์อะไรไปแล้วก็ยากที่จะตามลบให้หมดสิ้น ซึ่งพ่อแม่ก็ต้องไม่ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงกับลูก เช่น ไม่โพสต์ภาพและข้อมูลส่วนตัวของลูกในวัยที่ยังไม่รู้เดียงสา จนถึงยังไม่บรรลุนิติภาวะในทุกกรณี

2

ในต่างประเทศนั้นใช้แอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า ReThink ได้ โดยเป็นแอพฯ ป้องกัน Cyberbullying ที่ถูกพัฒนาโดย Trisha Prabhu เด็กสาวอายุเพียง 13 ปีเท่านั้น เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ทรงพลัง

เมื่อพ่อแม่เอารูปลูกโพสต์ไปบนสื่อออนไลน์ นั่นคือ การทำให้ลูกตกเป็นเป้าของการ Bullying บนออนไลน์ได้ อย่างกรณีที่ลูกไม่ได้ใส่เสื้อผ้าเล่นน้ำในอ่าง ในความคิดของพ่อแม่คือดูน่ารัก ซึ่งยังมีคนที่เป็นประเภทรักเด็ก และอาจจะเซฟรูปหรืออัดวิดีโอเหล่านี้ไว้แล้วเอามาขาย กฎหมายในเมืองไทยก็ยังค่อนข้างอ่อน เพราะในอเมริกามีครอบครองเพียงไม่กี่รูปก็สามารถติดคุกได้หลายปี

“ถ้าคุณละเมิดสิทธิเด็ก นั่นแปลว่าคุณกำลังผิดกฎหมาย เด็กต้องมีสิทธิ์ได้รับการปกป้องเลี้ยงดูที่ถูกต้อง และการที่เด็กถูกล่วงละเมิดไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือด้วยอะไรก็ตามแต่ อันนี้ก็คือการละเมิดสิทธิเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้”

การไตร่ตรองก่อนการใช้สื่อออนไลน์ควรบรรจุในการเรียนการสอนของเด็กไทย
นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เคยได้กล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับ Cyber- bullying ไว้ว่า คนไทยต้องรับรู้เรื่องนี้ว่ากำลังเริ่มฝังลึกอยู่ในพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่นไทย แต่สิ่งที่อยากเห็นมากกว่าคือ การป้องกันอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง ป้องกันก่อนสิ่งเหล่านี้จะถูกป้อนลงไปบนโลกโซเชียลฯ การไตร่ตรองก่อนการใช้สื่อออนไลน์ ควรเป็นคอนเซ็ปต์ที่ถูกบรรจุอยู่ในการเรียนการสอนของเด็กไทย ที่ไม่ใช่แค่ครูบอกแต่เพียงว่านักเรียนทุกคนต้องระวังการเขียนเรื่องต่างๆ ในโลกโซเชียลฯ เท่านั้น แล้วก็จบไป

“การใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกต้อง ควรถูกบรรจุเป็นวิชาหนึ่งเลยด้วยซ้ำและมีการสอนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในชั้นประถม มัธยม-ศึกษาตอนต้น ไล่ไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะแต่ละช่วงอายุของเด็กมีความเข้าใจต่อโลกออนไลน์ที่ไม่เท่ากัน พ่อแม่ผู้ปกครองที่บ้านก็ควรสอนเรื่องนี้อย่างจริงจังเช่นเดียวกัน ถ้าถามว่าควรเริ่มสอนตอนไหน สำหรับผมคือ เด็กจับเม้าส์เป็นเมื่อไรก็สอนเมื่อนั้น”

ข้อความต่างๆ ที่พิมพ์ออกไป บางครั้งอาจเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบ หรือบางครั้งอาจเกิดจากเราไม่ได้ไตร่ตรองความเป็นจริงก่อน เราอ้างความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราอ้างความหวังดีต่อสังคม แต่ผลกระทบเลวร้ายที่เกิดขึ้น มันอาจคงอยู่ถาวรกับใครบางคน และคงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อยถ้าเด็กไทยทุกคนถูกปลูกฝังให้นึกถึงเรื่อง Re-think ทุกครั้งก่อนที่จะเขียนหรือตอบอะไรออกไป จะได้ไม่เผลอเป็นฆาตกรคีย์บอร์ดโดยไม่รู้ตัว

555

ทั้งนี้ กรณีในต่างประเทศนั้นสามารถใช้แอพ-พลิเคชั่นที่ชื่อว่า ReThink ได้ โดยเป็นแอพฯ ป้องกัน Cyberbullying ที่ถูกพัฒนาโดย Trisha Prabhu เด็กสาวอายุเพียง 13 ปีเท่านั้น เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ทรงพลัง ด้วยการจับข้อความที่สุ่มเสี่ยงต่อการกลั่นแกล้งผู้อื่น หรือข้อความที่อาจทำให้ผู้อ่านได้รับความเจ็บช้ำน้ำใจ แล้วตั้งคำถามต่อผู้โพสต์ว่า คุณแน่ใจหรือไม่ที่จะโพสต์ข้อความนี้? ข้อความนี้อาจทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เพื่อให้ผู้ใช้หยุดคิดสักนิด ก่อนที่ตัดสินใจจะเขียนอะไรที่ทำร้ายจิตใจคนอื่นลงไป ซึ่งจากการวิจัยและนำไปทดลองใช้กับเด็กนักเรียน พบว่า ลดการโพสต์ข้อความที่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นได้มากถึง 93.4 เปอร์เซ็นต์