บทบาทของชีวิตในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันไป หลายครั้งที่เป็นเรื่องใหม่ และไม่เคยสัมผัสมาก่อน ก็ต้องมีปัญหาคอยให้ตามแก้อยู่อย่างเสมอ อย่างเช่นเรื่องของการมีลูก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่นิยมอาศัยอยู่แบบครอบครัวเดียว และทั้งพ่อและแม่อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องทำงานนอกบ้าน ทำให้ความคล่องตัว และการใช้ชีวิตในบทบาทใหม่นี้พบกับความติดขัดอยู่พอสมควร
“สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก” แฟนเพจในเฟซบุ๊กที่มีผู้ติดตามมากว่า 63,000 คน ในระยะเวลา 3 เดือน โดย แพร-นาฏนุช วงศ์ศรีรุ่งเรือง หรือที่แฟนเพจรู้จักกันในชื่อ “มี๊แพร” คุณแม่น้องลิดา วัย 2 ขวบ ที่เปิดขึ้นมาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์การเลี้ยงลูก แบบครบวงจรตามชื่อเพจเลยทีเดียว
เริ่มศึกษาข้อมูลเลี้ยงลูกเพื่อประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตัวเอง
ด้วยความที่เลี้ยงลูกเองตั้งแต่เกิด โดยไม่มีพี่เลี้ยง ทำให้เธอได้รู้ว่ามีปัญหาอะไรที่เกิดจากการเลี้ยงเด็กบ้าง และนำประสบการณ์เหล่านั้นไปแบ่งปันสู่คนอื่นๆ เพราะว่าตัวเองเป็นคนที่พิถีพิถันและชอบหาข้อมูล จึงเริ่มต้นเปิดแฟนเพจนี้เพื่อส่งต่อข้อมูลเรื่องการเลี้ยงลูก
“ก่อนหน้านี้ยอมรับว่า ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกน้อยมาก แต่พอท้องปุ๊บก็สั่งหนังสือจากเมืองนอกเลย เพราะตัวเองไม่ได้มีประสบการณ์ด้านนี้เลย ด้วยความเป็นคนที่ชอบศึกษาหาข้อมูลอยู่เรื่อยๆ อ่านหนังสือเยอะ หาข้อมูลมาเยอะทุกเรื่อง ทั้งกายภาพ จิตวิทยา พัฒนาการ แต่ก็ไม่ได้นำมาใช้โดยตรงทั้งหมด เป็นการเอามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับลูกของเรามากกว่า”
โดยนอกจากเพจ “สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก” แล้วคุณแพรยังทำบริษัทผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก และเป็นโปรดักส์ดีไซน์เพื่อการตกแต่งบ้านด้วย ซึ่งก็เน้นสินค้าที่ช่วยทางด้านการศึกษาให้เป็น Decoration และ Education ได้ในชิ้นเดียว ตอบโจทย์คนที่รักการแต่งบ้านและต้องการสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ด้วย นับว่าเป็นคุณแม่คนเก่งที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว
สร้างคอนเทนต์จากประสบการณ์จริง
“พฤติกรรมของพ่อแม่สมัยนี้คือ เรามีอะไรก็อยากให้ลูก เพราะว่าเรารักลูก แต่จริงๆ คือเราต้องคิดให้เยอะ บางอย่างถ้ามากเกินไปมันก็เป็นการทำร้ายลูก อย่างคอนเทนต์ในเพจสารพันปัญหาการเลี้ยงลูกนี่คือประสบการณ์ตรงของแพรเอง ไม่มีการเอาคอนเทนต์เมืองนอกมาแปล เราเขียนเองและใส่ตัวเองเข้าไป เป็นเรื่องราวของแม่ลูกที่เกิดขึ้นจริงๆ”
แพร เล่าว่า คอนเทนต์ที่ได้ทำให้คนมารู้จักเพจมากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เราเริ่มคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับวิธีปราบจอมเอาแต่ใจ และการให้ความรู้เรื่องโรคเท้าแบน ซึ่งทั้งสองอย่างเกิดจากการช่างสังเกตของตัวเอง แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นกับลูกนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและผู้ปกครองก็จำเป็นจะต้องเอาใจใส่
วิธีเลี้ยงเด็กเป็นจิตวิทยา น้ำเสียง การพูดต้องมีเทคนิค ซึ่งพ่อแม่บางท่านสอนลูก ดุลูกเหมือนกัน แต่เด็กกลับไม่ฟัง ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และใช้ให้เป็น
วิธีเลี้ยงเด็กเป็นจิตวิทยา น้ำเสียง การพูดต้องมีเทคนิค ซึ่งพ่อแม่บางท่านสอนลูก ดุลูกเหมือนกัน แต่เด็กกลับไม่ฟัง ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และใช้ให้เป็น เรื่องราวที่เธอได้ถ่ายทอดผ่านเพจก็เน้นเป็นเรื่องความคิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่คิดว่าหลายๆ บ้านน่าจะเจอปัญหาเดียวกัน
“ในเพจหรือว่าในไลน์เอง คนที่ติดตามก็จะมีการถามเรื่องครอบครัว เรื่องเซ้นสิทีฟก็ถาม เราก็ตอบให้เขาคิดในเชิงบวกไว้ ซึ่งเราก็ใช้ตรงนี้เพื่อศึกษาคน พอเรารู้ปัญหาเราก็รู้ว่าควรหาข้อมูลอะไรมาสร้างคอนเทนต์บ้าง ก็เป็นการแลกเปลี่ยนอีกทางหนึ่งเหมือนกัน”
การเลี้ยงลูกในยุคดิจิทัล
“สิ่งสำคัญคือ แต่ละช่วงของเด็กก็จะมีพัฒนาการที่ต่างกันออกไป คุณพ่อคุณแม่เองต้องให้เด็กๆ ทำเรื่องพื้นฐานคล่องก่อน อย่างการเคลื่อนไหว ประสาทสัมผัส และสร้างการเรียนรู้ให้สนุก เพราะถ้าเครียดทุกอย่างจะหยุดไปเลย การเล่นง่ายๆ อย่างปั้นแป้งหรือเล่นทรายที่เป็นกิจกรรมปลายเปิดให้เขาได้คิดต่อเองก็เป็นแนวทางที่ดี”
ฉบับที่ 212 เดือนสิงหาคมวิธีสร้างธุรกิจอย่างสตาร์ทอัพ |
แต่การเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกยังคงเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งการที่มีอุปกรณ์ หรือของเล่นเยอะๆ ไม่ได้หมายความว่าดีเสมอไป เพราะบางทีไม่ได้จำเป็น เพียงแค่เลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย โดยแพรก็จะพยายามบอกในแฟนเพจว่า อุปกรณ์หรือของเล่นไหนอะไรที่จำเป็น ควรมีเพื่อเสริมพัฒนาการอย่างด้าน คณิตศาสตร์ การอ่านเขียน จินตนาการ จะจัดมุมอย่างไร ถึงช่วยให้เรียนรู้มากสุด โดยไม่ได้ต้องพึ่งของเล่นราคาแพง
“คนเรามีความจำเป็นต่างกัน บางคนเลี้ยงลูกกับแท็บเล็ต เพราะว่าต้องทำงานหาเงิน การที่ลูกอยู่กับที่ก็น่าจะดีกว่าให้ออกไปเดินที่ไหน เพราะจะเกิดอันตรายหรือเปล่าเราไม่รู้ แต่อย่างวิธีของแพรเองคือ จะดูแลตลอดและมีการกำหนดเวลาว่าดูเยอะไปไหม พักมาทำอย่างอื่น เช่น ระบายสี ต่อเลโก้อะไรก็ว่าไป เพราะเด็กก็เหมือนเรา จะให้เครียดตลอดเวลาก็คงไม่ไหว และสื่อพวกนี้เดี๋ยวนี้ได้ความรู้หลายอย่าง ลิดาเองก็ได้เยอะมาก มันมีข้อดีเพียงแต่ว่าผู้ปกครองต้องคอยชี้แนะเท่านั้นเอง”
ในอนาคตเด็กก็คงต้องใช้สื่อพวกนี้เยอะขึ้นในเรื่องของการศึกษา ซึ่งแพรเองก็พร้อมสนับสนุนให้ลูกได้ใช้งานตรงนี้อย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องให้เติบโตไปตามวัย พร้อมกับการสร้างการเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ ด้วย
สุดท้าย แพร ยังฝากถึงพ่อแม่มือใหม่ว่า อยากให้ศึกษาข้อมูลในการเลี้ยงลูกเยอะๆ ถ้าเรามีความพร้อมที่ดี เราก็จะไม่ตกใจอะไร และจะมีจุดยืน อยากให้พ่อแม่เลี้ยงแบบมีความสุขแต่ไม่ใช่เลี้ยงแบบปล่อยเราพยายามใส่เทคนิคให้ดีในการเลี้ยง ที่สำคัญคือ อย่าเอาครอบครัวของตัวเองไปเทียบกับคนอื่น แค่เราทำของเราให้ดีก่อนแล้วค่อยๆ ดีไปเรื่อยๆ ก็เพียงพอแล้ว
[efsrow]
[efscolumn lg=”6″ md=”6″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”6″ md=”6″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[/efsrow][efsrow]
[efscolumn lg=”6″ md=”6″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”6″ md=”6″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
[/efscolumn]
[/efsrow]