ธนาคารจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการให้บริการลูกค้าในกลุ่มธุรกิจมากยิ่งขึ้น ทั้งการพัฒนานวัตกรรมบริการและการออกแคมเปญทางการตลาดที่ตรงจุด รวมถึงการขยายโอกาสทางการตลาดให้แก่ลูกค้า และพัฒนาระบบโอนเงินระหว่างประเทศผ่านดิจิทัล แบงกิ้ง
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
ทวี ธีระสุนทรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
[/efscolumn]
[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
[/efscolumn]
ต่อไปนี้ไม่ต้องมีสมุดเงินฝากแล้วจะทำอย่างไร ตรงจุดนี้เองก็จะต้องคิดอะไรที่ล้ำกว่าไปให้มากๆ เพื่อที่จะมาทดลองดูว่าจะมีเทคโนโลยีอะไรที่สามารถทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงได้บ้าง ซึ่งตอนนี้โจทย์ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง e-Payment การโอนเงินต่างๆ หรือ National e-Payment
ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในแทบทุกส่วนของการใช้ชีวิตในประจำวัน และยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคการเงิน หรือ FinTech (Financial Technology) ซึ่งจากการวิจัยของ Accenture พบว่าในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเองมีการเติบโตของการลงทุนใน FinTech (Financial Technology) เป็นอย่างมาก จาก 31,897 ล้านบาทในปี 2557 เป็น 125,703 ล้านบาทในปี 2558 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่า FinTech จะเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกรรมภาคการเงินมากขึ้น และอาจจะเข้ามาแทนที่ธุรกรรมภาคการเงินแบบทั่วๆ ไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ไทยพาณิชย์ วางเป้าปูพรมสู่ดิจิทัล แบงกิ้ง
อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ยากลำบากของภาคสถาบันการเงินรวมทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ เนื่องจากมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ธนาคารมีผลประกอบการลดลงจากปีก่อน ในภาวะที่เศรษฐกิจของโลกและประเทศไทยชะลอตัวลงอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ธนาคารได้มุ่งเน้นที่จะดูแลช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารอย่างใกล้ชิดไปพร้อมกับการบริหารความเสี่ยงในทุกๆ ด้าน
และในด้านกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2559 ของธนาคารไทยพาณิชย์ ก็มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความพร้อมในการเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ คือการเดินหน้าปรับโฉมสู่การเป็นดิจิทัล แบงกิ้ง ที่ใช้เทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
ตั้งบริษัทวิจัย FinTech พร้อมกองทุน Venture Captital
ธนาคารไทยพาณิชย์นั้น ได้เตรียมแผนในการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ โดยรูปแบบของบริษัทดังกล่าวจะทำหน้าที่หลักๆ 2 ด้านคือ จัดตั้งกองทุนร่วมทุน หรือ Venture Captital วงเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,750 ล้านบาท เพื่อลงทุนกับ Startup ต่างๆ ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นการลงทุนในกองทุนที่ไปลงทุนใน Startup ก่อนที่จะเริ่มให้ทุนสนับสนุนโดยตรงกับ Startup ที่มีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศต่อไป และอีกด้านหนึ่งคือ Lab ที่เน้นการวิจัยด้าน FinTech หรือเทคโนโลยีทางการเงิน ใช้งบลงทุน 1-1.5 เปอร์เซ็นต์ ของกำไรสุทธิของธนาคาร โดยที่ปีแรกจะมีงบลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท จากกำไรของปี 2558 พร้อมกับยังได้ผู้บริหารมากฝีมืออย่าง ธนา เธียรอัจฉริยะ มารับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่
สำหรับเทคโนโลยีที่เน้นนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับดิจิทัลเทคโนโลยี โดยเฉพาะที่เป็น FinTech ยกตัวอย่างเช่น การตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า ถ้าต่อไปนี้ไม่ต้องมีสมุดเงินฝากแล้วจะทำอย่างไร ตรงจุดนี้เองก็จะต้องคิดอะไรที่ล้ำกว่าไปให้มากๆ เพื่อที่จะมาทดลองดูว่าจะมีเทคโนโลยีอะไรที่สามารถทำให้แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงได้บ้าง ซึ่งตอนนี้โจทย์ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง e-Payment การโอนเงินต่างๆ หรือ National e-Payment การโอนเงินระหว่างประเทศ เรื่อง Welth Management การบริหารความมั่นคง หรือเรื่อง Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูล หลายๆ สิ่งเหล่านี้ ท้ายที่สุดแล้วก็หวังว่าจะไปช่วยตอบโจทย์ในเรื่องของการทำอย่างไรที่จะสามารถสร้างประสบการณ์ของลูกค้า ในการใช้บริการของไทยพาณิชย์ที่แตกต่างจากปัจจุบันที่ระบบของธนาคารมีอยู่
“ในอดีตที่ผ่านมาเราอาจจะต้องรอให้เห็นภาพที่ชัดเจนก่อนถึงจะก้าวขาเดิน แต่ธุรกิจต้องลองทำไป เมื่อเวลาเราก้าวไปก้าวที่ 2 ก้าวที่ 3 เราจะเห็นมุมมองที่ไม่เหมือนกับก้าวแรก สิ่งที่ยากในองค์กรใหญ่คือ ต้องให้ถูกก่อนแล้วจึงตัดสินใจ แต่ถึงเวลาจริงถ้ารอให้รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิดก่อน สุดท้ายก็ไม่ได้ตัดสินใจหรือตัดสินใจช้าเกินไป ซึ่งการแยกออกมาแบบนี้ จะไม่ใช้กระบวนการตัดสินใจแบบธนาคารแล้ว เพราะการคิดแบบธนาคารเรามักจะกลัวพลาด ส่วนเรื่องความเสี่ยงเราก็จำกัดเอาไว้แล้วว่างบที่ 1-1.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หมดก็หมดเท่านี้ แต่ถ้าทำไปทำมาได้ผล มูลค่าที่กลับมาอาจจะประเมินไม่ได้” อาทิตย์ กล่าว
![]() |
ฉบับที่ 206 เดือนกุมภาพันธ์การแข่งขันบริการ Streaming บน 4G |
กสิกร ลุยหนักเทคโนโลยีดิจิทัล เปิดบริการสินเชื่อบุคคลผ่านแอพฯ
ทางด้านฟากแบงค์สีเขียวอย่างธนาคารกสิกรไทย ที่ได้ให้ความสำคัญในด้าน FinTech มาเป็นเวลาพอสมควร ทั้งการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการ AIS The StartUp 2015 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ การเฟ้นหานักธุรกิจดิจิทัลรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาธุรกิจ FinTech โดยให้การสนับสนุนรางวัลพิเศษ Best FinTech StartUp Award ให้แก่ทีมที่มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินและสามารถนำไปพัฒนาใช้งานได้จริง ซึ่งผู้สมัครในโครงการนี้กว่า 12 เปอร์เซ็นต์ จาก 300 ทีมเป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับ FinTech
ขณะเดียวกัน หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในปี 2559 ของธนาคารคือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อครองความเป็นผู้นำการให้บริการดิจิทัล แบงกิ้ง โดยจากข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2558 ธนาคารมีปริมาณธุรกรรมผ่านระบบบริการดิจิทัล แบงกิ้ง จำนวน 770 ล้านธุรกรรม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
และเมื่อไม่นานนี้เอง ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดช่องทางใหม่ให้ขอสินเชื่อบุคคลได้ผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โดย ทวี ธีระสุนทรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารฯ ได้พัฒนาช่องทางใหม่ในการขอสินเชื่อบุคคลกสิกรไทย (K-Personal Loan) ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking PLUS ซึ่งผู้กู้จะทราบผลอนุมัติสินเชื่อเร็วทันใจกว่าช่องทางการขอสินเชื่อแบบปกติ เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำการให้บริการดิจิทัล แบงกิ้ง โดยในระยะแรกธนาคารจะเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกสิกรไทยและใช้บริการ K-Mobile Banking Plus อยู่แล้ว ซึ่งมีประมาณ 8 แสนราย ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะได้รับการแจ้งเตือน และสามารถสมัครขอสินเชื่อได้ทันทีผ่านแอพพลิเคชั่น โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้และไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน
โครงการบริการสินเชื่อบุคคลกสิกรไทยผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือเป็นโครงการนำร่องของธนาคารกสิกรไทย โดยอนาคตอันใกล้นี้ ธนาคารวางแผนที่จะขยายบริการโดยการนำสินเชื่อประเภทอื่นๆ มาให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางนี้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วกับลูกค้าและธนาคารมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว
ออมสิน เดินหน้าช่วยเหลือและดูแลธุรกิจ SMEs ออมสิน จัดตั้งกองทุนร่วมทุน เสริมศักยภาพ SMEs
ธนาคารออมสิน เดินหน้าตามนโยบายรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือและดูแลธุรกิจ SMEs จัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน SMEs Private Equity Trust Fund วงเงินรวมไม่เกิน 2,000 ล้านบาท โดยนำร่องกองแรกร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวงเงิน 500 ล้านบาท เน้นลงทุน 4 กลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงศักยภาพสูง
โดย ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถมีแหล่งทุน ที่ดูแลกิจการและหมุนเวียนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ นอกเหนือจากการให้วงเงินกู้ภายใต้โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs แล้ว ล่าสุดนี้ ธนาคารฯ ได้ดำเนินการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเชิงบูรณาการ ด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs Private Equity Trust Fund วงเงินรวมไม่เกิน 2,000 ล้านบาท
กองทุนดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ 1) SMEs ระยะเริ่มต้น (Start-up Stage) ที่มีศักยภาพสูง 2) SMEs ที่มีศักยภาพในการเติบโต โดยเฉพาะที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ประเทศ 3) SMEs ที่เป็น Supplier ธุรกิจภาครัฐและภาคเอกชนขนาดใหญ่ หรือเป็นสมาชิกของสภาหอการค้าไทย หรือหน่วยงานภาครัฐ และ 4) SMEs ที่เป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งกำหนดนโยบายการลงทุนใน SMEs ระยะเริ่มต้น (Start-up Stage) ที่มีศักยภาพสูงไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท ส่วน SMEs ขนาดย่อม ขนาดกลาง วงเงินลงทุนรายละไม่เกิน 50 ล้านบาท
สำหรับระยะเริ่มต้นของโครงการนี้ ธนาคารออมสินได้จัดตั้งกองทุนที่ 1 วงเงิน 500 ล้านบาท โดยมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันหลักอีกแห่งหนึ่งเข้าร่วมลงทุนในวงเงิน 100 ล้านบาท และธนาคารฯ มีแผนที่จะร่วมลงทุนกับนักลงทุนและสถาบันอื่นๆ เพื่อจัดตั้งกองทุนจนครบตามเป้าหมาย 2,000 ล้านบาท ต่อไป