เกมคอนเทนต์บน VR โอกาสของนักพัฒนา

มานพ พาหิระ ผู้จัดการอาวุโส แผนกการตลาดผลิตภัณฑ์เพลย์สเตชั่น บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด

มานพ พาหิระ ผู้จัดการอาวุโส แผนกการตลาดผลิตภัณฑ์เพลย์สเตชั่น บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด

กระแสของ VR (Virtual Reality) กำลังเป็นที่นิยม ซึ่งการรับชมคอนเทนต์ที่เป็น VR จะต้องใช้อุปกรณ์เสริมที่เป็นแว่นจำลองภาพเสมือนจริง ตั้งแต่รูปแบบธรรมดาที่ใช้รับชมคอนเทนต์ง่ายๆ ด้วยสมาร์ทโฟน ไปจนถึงระดับไฮเอนด์สำหรับคนที่ชื่นชอบการเล่นเกมแบบจริงจัง

โซนี่ นำเสนอ PlayStation VR (PS VR) ออกสู่ตลาด ที่จะมาช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการเล่นเกมบนเครื่อง PlayStation 4 (PS4) และในขณะเดียวกัน ฝั่งนักพัฒนาคอนเทนต์ต่างก็ให้ความสนใจที่จะผลิตผลงานเพื่อป้อนสู่ตลาดที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้

การก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเล่นเกม
มานพ พาหิระ ผู้จัดการอาวุโส แผนกการตลาดผลิตภัณฑ์เพลย์สเตชั่น บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด กล่าวว่า กระแสตอบรับของ PlayStation VR ในเมืองไทยถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยในส่วนของร้าน PlayStation ทั้งที่เป็น Authorized Dealer และ Shop ของโซนี่ ณ ปัจจุบันก็มีลูกค้าที่เข้ามาสอบถามหรือทดลองเล่นกันเป็นจำนวนมาก โดยมีลูกค้าที่ Pre-Order สินค้า จนถึงตอนนี้เป็นล็อตที่ 2 แล้ว ซึ่ง Virtual Reality หรือ VR ในความหมายของโซนี่ จะมองถึงคำว่า Sense of Presence คือ การทำให้ความรู้สึกเหมือนกับอยู่ ณ จุดๆ นั้น และ Feedback จากลูกค้าจากลูกค้าที่ได้ทดลองเล่น ในเรื่องคุณภาพของภาพที่ได้ออกมานั้นค่อนข้างพอใจตามที่คาดหวังเอาไว้ ทำให้รู้สึกถึงความมีส่วนร่วมกับเกมได้จริงๆ ตลอดจนเรื่องของราคาที่เข้าถึงได้

PlayStation VR ก็ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของร่างกาย การสวมใส่จะค่อนข้างสบาย  และมีน้ำหนักที่เบา

PlayStation VR ก็ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของร่างกาย การสวมใส่จะค่อนข้างสบาย
และมีน้ำหนักที่เบา

“โอกาสในตลาดของเราเองนั้นใหญ่มาก เพราะจนถึงเมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา เราขายเครื่อง PlayStation 4 ไปแล้วประมาณกว่า 40 ล้านเครื่องทั่วโลก ฉะนั้นกลุ่มลูกค้าที่เคยซื้อ PlayStation 4 ไป ก็สามารถที่จะเอาตัว PlayStation VR เข้าไปเชื่อมต่อได้ทันที นอกจากนี้ตัว PlayStation VR ก็ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของร่างกาย การสวมใส่จะค่อนข้างสบาย และมีน้ำหนักที่เบา”

เกมเมอร์และนักพัฒนาต่างให้ความสนใจ
มานพ กล่าวเพิ่มเติมว่า เทรนด์ของ VR ในภาพรวมทั่วโลกก็มีมานานแล้ว และค่อยๆ ชัดขึ้นเรื่อยๆ PlayStation VR เองก็เริ่มมีทำตลาดอย่างจริงจังเลยเข้ามาเป็นกระแสหลัก ส่วนเทรนด์ในอนาคตจะเป็นในเรื่องของตัวคอนเทนต์ที่จะมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในแง่ของตัวคอนเทนต์นั้น โซนี่ อินเตอร์แอคทีฟ เอนเตอร์เทนเมต์ (SIE) มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักพัฒนา มากกว่า 100 ราย สำหรับการเตรียมและพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นคอนเทนต์ของ PlayStation VR ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีมากกว่า 60 เกม ที่ออกมาแล้วในตลาด และในปีหน้าก็จะมีเกมที่ทยอยออกมาเพิ่มมากเรื่อยๆ โดยทางฝั่ง Developer ตอนนี้ก็หันมาสนใจกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเวลาที่ Developer จะสร้างคอนเทนต์ นั้นก็จะต้องทำให้ออพติไมซ์กับฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ เช่น ถึงแม้ว่าอยากจะ Push เรื่องกราฟิก แต่ก็ต้องดูในเรื่อง Frame Rate ด้วย

จัตุพร รักไทยเจริญชีพ  Chief Technology Officer บริษัท MAD Virtual Reality Studio

จัตุพร รักไทยเจริญชีพ Chief Technology Officer บริษัท MAD Virtual Reality Studio

ผู้พัฒนาคอนเทนต์รีบจับกระแสตลาดเปืดโอกาสสู่ความสำเร็จ
จัตุพร รักไทยเจริญชีพ Chief Technology Officer ของบริษัท MAD Virtual Reality Studio กล่าวถึงเหตุผลที่หันมาให้ความสนใจในเทคโนโลยี Virtual Reality หรือ VR ว่า จะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้ที่สามารถนำมาต่อยอดได้ในธุรกิจอีกหลากหลายประเภท เช่น การศึกษา การแพทย์ ท่องเที่ยว สื่อบันเทิง แอนิเมชั่น เกม หรือแม้กระทั่งงานอีเวนต์ต่างๆ คล้ายกันกับช่วงที่สมาร์ทโฟนเข้ามาใหม่ในยุคแรกๆ ที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้มองว่า ธุรกิจของการทำแอพ-พลิเคชั่นจะเติบโตได้เหมือนในยุคปัจจุบัน

ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม

ใช้ App ช่วยสังคม ลดช่องว่างคนที่ลำบาก

ปัจจุบัน บริษัท MAD Virtual Reality Studio พัฒนาคอนเทนต์ประเภทโฆษณา การท่องเที่ยวแบบ 360 องศา และเกม ซึ่งในอนาคตตั้งเป้าที่จะขยายให้ได้แบบครบวงจร โดยต่อยอดไปถึงการพัฒนาคอนเทนต์ที่เป็นแอนิเมชั่น 360 องศา หรือแอนิเมชั่นแบบ VR สำหรับผู้พัฒนาคอนเทนต์ VR จะมีความยากในเรื่องของการคิดถึงมุมมองของภาพในหลายๆ มุมมอง เช่น การโฆษณาแบบธรรมดา ถ้าเพียงแค่ต้องการมองในมุมที่อยู่ข้างหน้า ต้องการโฟกัสที่จุดใดก็ซูมไปที่จุดๆ นั้น แต่เมื่อเป็นคอนเทนต์ VR จะไม่สามารถที่ทำแบบนั้นได้ เพราะมีมุมมองแบบ 360 องศา จึงต้องทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้คนหันไปมองตามที่จุดที่ต้องการ

“การออกแบบเกมอย่างเกมผี เกมปกติถ้าต้องการให้ผู้เล่นเห็นผี แค่มองไปทิศทางนั้นแล้วก็แค่ล็อกกล้องเอาไว้ แต่สำหรับ VR ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง โดยที่จะทำยังไงให้ผู้เล่นหันมามองเอง ซึ่งเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากกว่า และส่วนใหญ่ก็คือ การใช้ภาพ ใช้เสียง หรือใช้แสงเพื่อนำทาง เพราะผู้เล่นจะไม่ได้นั่งดูเฉพาะด้านหน้าเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น เราจะต้องคิดถึงมุมมองต่างๆ ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง ด้านบน ด้านล่าง ว่าเขาจะเห็นอะไรบ้าง”

รอยต่อของเทคโนโลยีที่ยังไม่มีจุดตายตัว
จัตุพร กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของการพัฒนาเกม ได้ใช้เครื่องมือ Unity เป็นหลัก โดยที่ต่อไปอาจจะใช้ Unreal หรือ Engine อื่นๆ ที่กำลังออกมาในอนาคต ข้อดีของการใช้ Unity คือ ซัพพอร์ตกับ Oculus ได้ดี เพราะเป็นพาร์ตเนอร์กัน แต่ถ้าดูในตลาด ณ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เริ่มมีอุปกรณ์จากแบรนด์ผู้ผลิตที่หลากหลาย และใช้รูปแบบของเครื่องมือที่แตกต่างกัน ทางผู้พัฒนาจึงพยายามที่จะทำแอพพลิเคชั่นเพื่อให้เป็น กลางที่สุด โดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงรอยต่อของการพัฒนาที่เทคโนโลยียังไม่ตายตัว จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา

“สมมติว่า เราออกแบบของ Oculus แต่ HTC เปลี่ยนไปใช้อีกแบบหนึ่ง ของ PlayStation ก็ใช้อีกแบบหนึ่ง แล้วเราจะทำตรงไหนให้มันเป็นตรงกลาง ซึ่งตอนนี้อาจจะยังไม่มี จึงต้องยึดแนวใดแนวทางหนึ่งก่อน เพราะอย่างของ Oculus ด้วย API ของเขาก็ยังไม่นิ่ง ต้องมีการอัพเดตอยู่ตลอดเวลา”

การต่อยอดของเกม ARAYA คือ การเพิ่มจุดมุ่งหมายในเกม มีการแก้ปริศนา หรือทำให้มีความเป็นเกมมากยิ่งขึ้น

การต่อยอดของเกม ARAYA คือ การเพิ่มจุดมุ่งหมายในเกม มีการแก้ปริศนา หรือทำให้มีความเป็นเกมมากยิ่งขึ้น

เราย่อบ้านผีสิงให้เป็น Virtual Reality โดยที่จะเข้าไปโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน เมื่อได้ทำเสร็จแล้วเราก็เอาไปอัพโหลดให้กับคนต่างชาติได้เล่น เลยเกิดเป็นกระแสขึ้นมาในเมืองไทยว่ามีคนไทยทำเกมผีที่เป็น Virtual Reality

เป็นคนเล่นเกมก็สามารถพัฒนาเกมได้
จัตุพร เล่าให้ฟังถึง เกม ARAYA ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ใสตอนนี้ว่า เกิดจากการต่อยอดมาจากเกม Hospital Haunted BE LOST ที่เคยทำเป็นธีสิสก่อนเรียนจบ และได้มาพบกับ 2 นักลงทุนที่มีความสนใจธุรกิจเกี่ยวกับเกม นำไปสู่การร่วมหุ้นเพื่อเปิดบริษัท MAD Virtual Reality Studio เพื่อพัฒนาเกมแบบจริงจัง ซึ่งการต่อยอดของเกม ARAYA คือ การเพิ่มจุดมุ่งหมายในเกม มีการแก้ปริศนา หรือทำให้มีความเป็นเกมมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่ Hospital Haunted BE LOST จะเป็นแค่ลักษณะเดินดูไปเรื่อยๆ เท่านั้น โดยเกม ARAYA นี้ใช้เวลาในการพัฒนามากกว่า 1 ปี จนสามารถนำออกขายบน Steam ได้สำเร็จ

“เรานำเสนอธีสิสที่เกี่ยวกับความกลัว ซึ่งตอนแรกจะทำบ้านผีสิงที่เป็นห้องจริงๆ แต่ใช้งบเยอะ จึงคิดว่าถ้าเราย่อบ้านผีสิงให้เป็น Virtual Reality โดยที่จะเข้าไปโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน เมื่อได้ทำเสร็จแล้วเราก็เอาไปอัพโหลดให้กับคนต่างชาติได้เล่น เลยเกิดเป็นกระแสขึ้นมาในเมืองไทยว่ามีคนไทยทำเกมผีที่เป็น Virtual Reality และความท้าทายก็อยู่ตรงที่เราต้องการสร้างแนวคิดที่ว่า เมื่อคุณเป็นคนชอบเล่นเกม คุณเองก็สามารถสร้างเกมได้ ไม่ใช่ว่าคุณเป็นแค่เด็กติดเกมคนหนึ่ง”

06เกม ARAYA จะสามารถเล่นได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งที่มีหรือไม่มีอุปกรณ์ Oculus Rift ก็ได้ เพราะถ้าไม่มีก็จะเล่นเป็นแบบโหมดธรรมดา ส่วนโปรเจ็กต์ต่อๆ ไปในอนาคตก็อาจจะเน้นที่เกมแนวสยองขวัญเช่นเดิม เนื่องด้วยประสบการน์และความเชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ดี ยังคงต้องทำเกม ARAYA ให้สมบูรณ์และดียิ่งๆ ขึ้นไป เพราะการนำออกจำหน่าย ไม่ใช่แค่เพื่อจำหน่ายได้แล้วก็เป็นอันจบไป แต่จะต้องมีการอัพเดตอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเรื่องการแก้ไข หรือเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถเล่นได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น และถึงแม้ว่า ทุกวันนี้ใครหลายคนอาจจะยังไม่มีอุปกรณ์ VR แต่เมื่อถึงเวลาที่มีก็อาจจะนึกถึงเกม ARAYA ด้วย ฉะนั้นการทำให้เกมอัพเดตอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ