เทคโนโลยียุคหน้า กับการยอมรับโดยผู้บริโภค

หลายสิบปีที่ผ่านมา เราได้เป็นประจักษ์พยานถึงผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต พีซี โทรทัศน์ความละเอียดสูง ตลอดจนช่องทางใหม่ๆ ในการบริโภคเนื้อหาซึ่งทวีปริมาณมากกว่าแต่ก่อน เรียกได้ว่ามนุษย์เราเกี่ยวรัดกับเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่เช้ายันเย็นในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ เนื่องจากมันสามารถเข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่มอย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ

tech1-1

Apple Watch นั้น แม้ว่าจะวางขายมาหลายเดือนแล้ว เราก็ยังไม่ทราบตัวเลขยอดขายอย่างแท้จริงจากปากผู้ผลิตเองเสียที ส่วนแว่น VR นั้นก็ดูเทอะทะและยุ่งยากมากว่าแว่น 3D เสียด้วยซ้ำ

ดังนั้น คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะตั้งสมมุติฐานว่า คงเป็นนวัตกรรมไอทีอีกเช่นกันที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์สุดร้อนแรงใหม่ๆ ที่จะตบเท้าเข้าสู่ตลาด คอยสังหารประชากรเงินในกระเป๋าของเราเหมือนกับทุกยุคที่ผ่านมา การวิเคราะห์แนวโน้มว่าเทคโนโลยีใดจะเข้ามาแทนที่นวัตกรรมกระแสหลักปัจจุบันจึงเป็นเรื่องน่าท้าทาย และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะผู้ผลิตที่ต้องการเป็นหมายเลขหนึ่งของวงการ

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงว่าการคาดเดาว่านวัตกรรมใดจะได้รับความนิยมโดยผู้บริโภคยุคหน้านั้นคงทำได้ยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ได้เห็นนวัตกรรมที่จะมาพลิกโฉมพฤติกรรมมนุษย์อย่างสมาร์ทโฟนอีกต่อไป ตรงกันข้าม มีเทคโนโลยีน่าสนใจมากมายที่กำลังได้รับการขัดเกลาอยู่ในห้องทดลอง และพร้อมวางจำหน่ายสู่ตลาดเพียงได้รับสัญญาณ แต่คำตอบของคำถามที่ว่า “ผู้บริโภคจะยอมรับหรือไม่?” นั้น กลับมีความไม่แน่นอนสูงมากกว่าแต่ก่อน

ไม่มีอะไรน่าสนใจเลยหรือ?
ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา มีเทคโนโลยีน่าสนใจที่ได้รับการพูดถึงมากมาย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคในเร็ววัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สวมใส่ได้ รถยนต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์แบบ บ้านอัจฉริยะ และโลกเสมือน (Virtual Reality หรือ VR) เป็นต้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และมีศักยภาพพอที่จะเข้ามาพลิกโฉมโลกใบนี้ได้อย่างเท่าเทียม แต่ประเด็นคือ ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่พอจะส่งสัญญาณออกมาว่าจะได้รับการยอมรับโดยผู้บริโภคได้ดีเทียบเท่าพีซี สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเลยสักรายเดียว

หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ก็จะเห็นได้ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ คงจะจำกันได้ว่าเทคโนโลยี 3D เคยได้รับการพูดถึงอย่างมากเมื่อสัก 4-5 ปีก่อน ในฐานะผู้พลิกโฉมหน้าการรับชมความบันเทิงที่จะเข้ามาช่วยให้ผู้บริโภค ดื่มด่ำกับเนื้อหาได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และนักพัฒนาเนื้อหาต่างก็ตอบรับกับกระแสนี้เป็นอย่างดี เห็นได้จากปริมาณการฉายภาพยนตร์ 3D ในโรงหนังที่มากขึ้น เนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือเกมต่างก็ได้รับการสรรค์สร้างให้รับชมในรูปแบบสาม มิติได้จากที่บ้าน จอโทรทัศน์ และมอนิเตอร์สามมิติต่างถูกผลิตออกมามากมาย เรียกได้ว่ามีพร้อมทุกอย่างทั้งฮาร์ดแวร์และเนื้อหา จึงไม่น่าที่จะมีเหตุอันใดมาสยบความร้อนแรงของมันได้

แต่ลองหันไปมองดูภูมิทัศน์ของโลกไอทีในตอนนี้ดูว่า เทคโนโลยีสามมิติยังได้รับการพูดถึงบ่อยครั้งเท่าเมื่อก่อนอีกหรือไม่? หรือยังมีจอมอนิเตอร์หรือจอโทรทัศน์อีกสักกี่รุ่นที่ถูกโปรโมตว่าเป็นรองรับการแสดงผลดังกล่าว แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งมันได้รับการแทนที่ด้วยนวัตกรรมลักษณะ Passive มากกว่า อาทิ การแสดงผล UltraHD (4K) หรือจอภาพที่มีลักษณะโค้งเข้าหาผู้ชม เป็นต้น เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้เรียกร้องอะไรเพิ่มเติมจากผู้บริโภค

หรือพูดให้เห็นภาพก็คือ เราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์เสริมพิเศษมาเพื่อรับชมเนื้อหา 4K ไม่เหมือนกับ 3D ที่เราต้องเสียเงินซื้อแว่นตาเฉพาะ ซึ่งมันค้านกับความรู้สึกของผู้ที่ต้องพักผ่อนด้วยการดูหนังสักเรื่อง แล้วทำไมต้องใส่แว่นตาอะไรก็ไม่รู้ให้มันเกะกะและมึนหัวเปล่าๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่ามันไม่มีความสำคัญหรือไร้ประโยชน์ เพียงแต่มันไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคกระแสหลักเท่านั้นเอง

e204

ฉบับที่ 204 เดือนธันวาคม

ปรับร้านค้ายุคดิจิทัล รับเทรนด์ปี 59

สำหรับตัวอย่างที่ใหม่กว่านั้น ก็ขอยกเทคโนโลยีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สวมใส่และแว่น VR มาให้เห็นภาพ แม้ว่าทั้งสองจะสามารถจุดกระแสได้บ้างกับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม แต่ก็เช่นเดียวกับ 3D ที่ว่าทั้งสองนวัตกรรมนี้ต่างกำลังประสบกับความท้าทายในด้านการสร้างกระแส ตอบรับจากผู้บริโภค Google Glass ต้องม้วนเสื่อกลับไปที่กระดานออกแบบใหม่ตั้งแต่ต้น เพราะมีเสียงคัดค้านด้านความเหมาะสม

ส่วน Apple Watch นั้น แม้ว่าจะวางขายมาหลายเดือนแล้วเราก็ยังไม่ทราบตัวเลขยอดขายอย่างแท้จริงจาก ปากผู้ผลิตเองเสียที ส่วนแว่น VR นั้นก็ดูเทอะทะและยุ่งยากมากว่าแว่น 3D เสียด้วยซ้ำ จริงอยู่ว่าอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินเพราะเทคโนโลยีทั้งคู่ก็ยังอยู่ใน ขั้นเริ่มต้น แต่ก็ไม่มีอะไรจะมายืนยันได้ว่ามันจะยังได้รับการพูดถึงบนกระแสธารของผู้ บริโภคหรือไม่ในอีกหลายปีข้างหน้า

tech1-2

เทคโนโลยีผู้บริโภคในยุคหน้านั้นอาจเป็นเรื่องของการตั้งค่ามาตรฐานที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกัน ตลอดจนการขัดเกลาให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นสามารถสื่อสารกันได้ผ่านระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย

ส่วนนวัตกรรมบ้านอัจฉริยะและรถยนต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้นั้นก็ยังอยู่ในขั้นตั้งไข่ทั้งคู่ และมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลานานมากกว่าที่ผู้บริโภคทั่วไปจะยอมรับ โดยอาจนานเสียยิ่งกว่าเทคโนโลยีทั้งสองที่กล่าวไปก่อนหน้านี้เสียอีก เนื่องจากไม่เพียงแต่จะพบกับความท้าทายในด้านการรอมรับและการนำไปใช้จริงเท่านั้น แต่อาจยังต้องเจออุปสรรคทางเทคนิคอีกด้วย

กว่าจะคุยกันรู้เรื่อง
จากการที่เทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะกำลังได้รับการพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากการมาถึงของนวัตกรรม Internet of Things (IoT) จึงมีผู้พัฒนาหลายรายหวังเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในเค้กก้อนโตชิ้นนี้ ไม่ว่าจะเป็น Intel, Qualcomm, Google และ Apple ซึ่งแต่ละรายนั้นต่างก็มีเทคโนโลยีเบื้องหลังที่คอยขับเคลื่อนแตกต่างกันไป ซึ่งหากไม่สามารถตกลงด้านมาตรฐานที่ตรงกัน หรือขาดตัวกลางประสานระหว่างฮาร์ดแวร์ค่ายต่างๆ แล้ว ก็คงยากที่ผู้บริโภคจะยอมรับนวัตกรรมนี้ เพราะมีความซับซ้อนมากเกินไป

ส่วนเทคโนโลยีรถยนต์อัจฉริยะก็กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะเป็นที่แน่นอนว่าผู้พัฒนาทั้งหลายต่างพัฒนาแต่เฉพาะด้านคุณสมบัติให้ สามารถรองรับการใช้งานหลากหลายมากขึ้นเท่านั้น แต่ประเด็นที่จำเป็นกว่า อาทิ มาตรฐาน ความต้องการพื้นฐาน และความเข้ากันได้ของระบบที่จะช่วยให้รถยนต์แต่ละคันสามารถสื่อสารกันได้ นั้นกลับมีการพูดถึงน้อยมาก และนี่ยังไม่นับรวมถึงมาตรการทางกฎหมายและการประกันภัยที่คงจะต้องหาจุดร่วม ที่ตรงกันให้ได้

เพราะฉะนั้นแล้ว จึงตั้งสมมติฐานได้ว่า เทคโนโลยีผู้บริโภคในยุคหน้านั้นอาจไม่ได้เป็นเรื่องของแกดเจ็ตสินค้าอุปโภค เป็นชิ้นๆ หรือแพลตฟอร์มเฉพาะเช่นเดิมอีกต่อไป แต่อาจเป็นเรื่องของการตั้งค่ามาตรฐานที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกัน ตลอดจนการขัดเกลาให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นสามารถสื่อสารกันได้ผ่านระบบปฏิบัติการ ที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคควบคุมได้ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือก ลดข้อจำกัด และดึงความสนใจมายังตลาดเกิดใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี

สรุป
นับเป็นเรื่องโชคดีที่ผู้บริโภคในช่วงหลังศตวรรษที่ 20 ได้เห็นการเข้ามาของนวัตกรรมมากหน้าหลายตา ขณะที่มีหลายชิ้นได้รับการยอมรับและถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องโดยผู้บริโภค แต่ก็มีอีกหลายชิ้นที่สามารถสร้างกระแสได้เพียงพักเดียวก่อนที่จะหายไปเหมือนฝุ่น จึงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้ที่อยู่ในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศมากว่านวัตกรรมใดที่จะอยู่หรือไป

ปัจจุบันมีนวัตกรรมผู้บริโภคมากมายให้เราจับตา ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สวมใส่ แว่น VR บ้านและรถยนต์อัจฉริยะ แต่ทั้งหมดนั้นดูเหมือนว่าจะสามารถเรียกความสนใจได้เฉพาะผู้บริโภคกลุ่มเล็กๆ หรือ Early Adopter เท่านั้น และคงต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ผู้บริโภคทั่วไปจะให้การยอมรับ

ประเด็นหลักของความท้าทายที่บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเผชิญก็คือ จะทำอย่างไรให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมเหล่านี้สามารถสื่อสารกันได้อย่างรู้เรื่อง การกำหนดมาตรฐานให้กับวงการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากจะช่วยลดความซับซ้อนและสับสนให้กับผู้บริโภค ตลอดจนการกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะต้องได้รับการยอมรับร่วมกัน หากไม่เช่นนั้นแล้ว นวัตกรรมเหล่านี้คงกระจุกอยู่กับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม และพลาดโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหญ่อย่างน่าเสียดาย ซึ่งนั่นคงไม่ใช่สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นในยุคที่ดิจิทัลเบ่งบานหรอก ใช่ไหมครับ?

[efspanel style=”” type=””]
[efspanel-header]
Contributor
[/efspanel-header]
[efspanel-content]
falcon

falcon_mach_v

สรนาถ รัตนโรจน์มงคล

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 48 และปริญญาโทจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รหัส 55 ปัจจุบันประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับด้านไอที แต่ด้วยความชอบจึงได้มีงานเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เสมอ สามารถติดตามอ่านได้ที่ www.bitwiredblog.com และชมเว็บไซต์ผลงานภาพถ่ายได้ที่ http://iviewphoto.me

Facebook: sorranart

Website: ontechz.blogspot.com

[/efspanel-content]
[/efspanel]