Game Developers เรื่องเล่าจาก คนสร้างเกม

m3
ตัวผมช่วงนี้ นอกจากจะเป็นอาจารย์สอนการพัฒนาเกม หรือขอทุนวิจัยเกี่ยวกับเกม (Gamification, Game-Based Learning) ในชีวิตปกติแล้ว อีกครึ่งหนึ่งของชีวิตคือ ผู้ประกอบการที่เกินคำว่า Startups ไปสักระยะหนึ่งได้ ช่วงหลังมีโอกาสได้เป็น Production House ให้กับบริษัทญี่ปุ่น

โดยบริษัทญี่ปุ่นดูแลในส่วนของการพัฒนาเกมบนโทรศัพท์มือถือ และได้ใช้เวลาคลุกคลีเสวนากับทีม Production House แดนอาทิตย์อุทัยอยู่พักใหญ่ ส่วนมากก็เป็นเรื่องของกระบวนการทำงานระหว่าง 2 ทีมงาน โดยทีมคนไทยทำ Engine (ระบบต่างๆ ในเกม เช่น การควบคุมตัวละคร เงื่อนไขระบบการเล่น การส่งข้อมูลไปมา) และ Design (รูปแบบกราฟิกภายในเกมทั้งหมด) โดยมีทีมญี่ปุ่นมาตรวจรับงานเป็นระยะแบบเข้มข้น จนตัวโครงการเสร็จสรรพไปได้หลายเกม ในส่วนของการทำงานการเขียนโปรแกรมที่เข้าใจยากคงไม่อาจจะหยิบยกมาพูดให้ฟังได้ แต่สิ่งที่อยากจะหยิบยกมาในวันนี้คือ การได้แลกเปลี่ยนความรู้ กระบวนการทำงานระหว่างทีม เกี่ยวกับการสร้างเกมตั้งแต่ออกแบบ กำหนดรูปแบบ การทดสอบ ไปจนถึงการทำการตลาด และขาย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจให้กับเหล่านักพัฒนา หรือ Startups ที่กำลังมีแผนจะทำธุรกิจเกม หรือ Game Developers ซึ่งตอนนี้นับว่าเป็นหนึ่งใน Digital Content ตัวหนึ่งของประเทศไทยตามแนวคิด Thailand 4.0 ไปแล้วครับ

เริ่มต้นสร้างเกม กับการค้นหาไอเดีย
ในช่วงของการเริ่มต้นสร้างเกมนั้น ก่อนที่เกมจะออกมาเป็นรูปร่างมันต้องมีไอเดียก่อน แต่ก่อนจะมีไอเดีย เราต้องมีทีมงานครับ โดยทีมงานสำหรับบริษัท หรือทีมเล็กๆ ที่จะเป็น Production House หรือ Game Developers Studio นั้นจะมีจำนวนกี่คนก็ได้ แต่ขอให้แยกคุณสมบัติเหล่านี้ให้ชัดเจนว่า คุณมีคนประเภทนี้อยู่แล้วหรือยัง

Creative
ความสร้างสรรค์หรือครีเอทีฟ เป็นสิ่งที่เกม หรือธุรกิจจำพวก Digital Content ต้องมี และขาดไม่ได้ แล้ว Creative สำหรับบริษัทเกมนี่จะยุ่งยากกว่าหน่อยนั่นคือ คนที่จะเป็นตำแหน่งนี้ต้องเล่นเกมและเข้าใจรูปแบบประเภทของเกมได้ครับว่า เกมมีกี่ประเภท หนักที่สุดต้องแยกออกว่าเกมคือ ธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของความบันเทิง และอารมณ์ของผู้บริโภค การเล่าเรื่องเดิมๆ เหมือนนิยาย ก็คงจะลำบาก ต้องรู้จักที่จะนำหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างมาประกอบกันให้กลายเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจ ความสำคัญของ Creative สำหรับทีมพัฒนาเกมนั้นคือ การถ่ายทอดเรื่องราวให้ออกมาเป็นมุมมองที่เข้าใจง่าย เช่น นิทานปกรณัม นิทานโบราณ กระแสสังคม มานำเสนอร่วมกับตัวละคร และเนื้อเรื่องภายในเกม

Storyboard Designer
คนออกแบบสตอรี่บอร์ด มีหน้าที่คล้ายกับคนทำสตอรี่บอร์ดของภาพยนตร์ เพราะสตอรี่บอร์ดเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ความคิดไอเดียที่อยู่ในหัวของ Creative นั้นออกมาให้ทีมงานเข้าใจตรงกัน Storyboard Designer จึงเป็นตำแหน่งที่ต้องพูดคุยกับ Creative บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันที่จริงสตอรี่บอร์ดเป็นเหมือนศิลปะแขนงหนึ่งใกล้เคียงการออกแบบภาพศิลป์ เพราะมันคือ ศาสตร์ในการเล่าเรื่องด้วยภาพ โดยสตอรี่บอร์ดที่ออกแบบนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ Cutscene หรือฉากเล่าเรื่องของเกม ที่ใกล้เคียงการทำภาพยนตร์หรือโฆษณา และ Game Play คือ ฉากขั้นตอนการเล่นเกม เงื่อนไขเมื่อเกมเกิดเหตุการณ์ต่างๆ การอธิบายการเคลื่อนไหวไปมาของศัตรูภายในเกม หรือรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่จะปรากฏในเกม นับว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ที่จริงแล้ว Creative และ Storyboard Designer นั้น อาจเป็นคนเดียวกันยังได้เลย

m5

ต้องแยกออกว่าเกมคือ ธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของความบันเทิง และอารมณ์ของผู้บริโภค การเล่าเรื่องเดิมๆ เหมือนนิยาย ก็คงจะลำบาก ต้องรู้จักที่จะนำหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างมาประกอบกันให้กลายเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจ

ในแวดวงของภาพยนตร์นอกเหนือจากเกม George Miller ผู้กำกับภาพยนตร์ Mad Max: Fury Road ยังเลือกที่จะไม่เขียนบท แล้วใช้สตอรี่บอร์ดเล่าเรื่อง แล้วแทรกบทสนทนาเพื่อลดปัญหามุมมองที่ต่างกันระหว่างคนเขียนบท ตากล้อง และนักแสดง ทำให้การถ่ายทำเป็นไปได้อย่างราบรื่น นักแสดงรู้ว่าตัวเองต้องอยู่ในตำแหน่งไหน ซึ่งการสร้างเกมก็เช่นกัน ฉากหรือมุมกล้องภายในเกมก็จัดการได้ง่ายขึ้น

Graphic Designer
นักออกแบบกราฟิกภายในเกม ไม่ว่าเกมที่เลือกพัฒนาจะเป็นเกมมุมมอง 2 มิติ หรือ 3 มิติ นักออกแบบกราฟิกจะต้องมีความสามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ หรือ 2 คน แยกกันชัดเจน ไม่ก็ใช้ OutSources ช่วยเหลือส่วนนี้ได้

ฉบับที่ 214 เดือนตุลาคม

AI สำหรับแบรนด์ ผู้ช่วยในยุค IoT

Programmer / Developers
นักพัฒนาเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องมี เพราะการสร้างเกมจำเป็นต้องมีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจยาก และจำนวนที่เหมาะสมต่อ Production House หรือ Game Developers Studio นั้นควรอยู่ที่ขั้นต่ำ 2 คน และมีความสามารถเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ๆ ได้ ใช้เครื่องประมวลผลเกม หรือ Game Engine ช่วยในการพัฒนาได้ ซึ่งปัจจุบันมี Game Engine หลากหลายตัวให้ดาวน์โหลดไปใช้ช่วยเหลือในการพัฒนา ทั้งฟรีและจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ไม่ว่ายังไงก็ตาม ตำแหน่งนักพัฒนา Programmer หรือ Developers นี้ก็สามารถ Outsources ได้เช่นเดียวกับ Graphic Designer หากบริษัทของคุณมีงบประมาณที่คำนวณจุดคุ้มทุนแล้วแบบไหนดีกว่ากัน

m10

Business Development
มีหน้าที่สื่อสารกับคนภายในทีม บางครั้งทำหน้าที่ใกล้เคียงกับ Project Manager ผู้จัดการทีมพัฒนาอยู่เหมือนกัน นอกเหนือจาก Business Development จะคุมการทำงานของทีมแล้ว ต้องมีการวางแผนธุรกิจที่จะต้องต่อยอดตัวเกมให้เติบโตขึ้นมาได้ และไม่ทำให้แนวคิดของเกมหลุดจากความคิดของ Creative เช่น การวางแผนการซื้อขายไอเทมสิ่งของภายในเกม การติดต่อพันธมิตรด้วยการจ่ายเงินภายในเกม โฆษณาที่ปรากฏ หรือการทำการตลาด ซึ่ง Business Development อีกนั่นแหล่ะ ที่อาจจะต้องเป็นทั้งนักการตลาดเอง หรือหาทีมการตลาดมาช่วยเหลือก็ได้ อยู่ที่จำนวนเงินทุนตั้งต้นของทีม

เมื่อมีตัวสมาชิกทีมคุณสมบัติครบตามข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ต่อไปคือ การวางแผนออกแบบและการพัฒนาเกม ทีมงานมีหน้าที่ประชุมและนำเสนอว่า เกมที่จะพัฒนานั้นมีรูปแบบเป็นอย่างไร ขั้นตอนในการออกแบบเกมและวิธีการเล่นนั้น Business Development ต้องวางแผนทำวิจัยเก็บข้อมูลจำพวก Conduct Survey กับกลุ่มตัวอย่าง คือบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับรูปแบบของเกม ประเภทของเกม Concept Art เพื่อจะได้วางแผนกรอบแนวคิดการพัฒนา (Development Framework) ออกมาเพื่อส่งมอบให้กับ Creative ได้ออกแบบต่อไป

m6

Game Tester
นักทดสอบระบบเกมหรือตัวเกม เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี เหมือนเป็นคนคุมคุณภาพของเกมที่เราพัฒนามาให้สมบูรณ์ และจะมีข้อเสนอแนะใหม่ๆ สำหรับการเล่น ให้แก่ Creative ไปจนถึงข้อผิดพลาดของเกมให้กับ Developers ที่พัฒนาเกม โดย Tester จะมีหน้าที่ทดสอบการพัฒนาเป็นรอบๆ ไป แนะนำว่า Tester นั้น ควรมีตำแหน่งประจำในทีมอย่างน้อย 1 คน และอีกคนเป็น Outsource ก็ได้ เพราะระบบภายในบางอย่าง เช่น การตัดเงิน หรืออะไรที่เกี่ยวกับส่วนต่อประสานโปรแกรมของเกมนั้น ต้องรู้ได้เฉพาะส่วนภายในของทีม และข้อผิดพลาดส่วนนี้ เป็นส่วนร้ายแรงที่ไม่ควรหลุดออกไปสู่บุคคลภายนอก

ขั้นตอนการออกแบบสตอรี่บอร์ดและกราฟิก ต้องครอบคลุมไปถึงระบบเกม (Mechanic) การเล่นเกม ซึ่งทีมงานต้องมีการตั้งเป้าหมายชัดเจนกันว่าเกมที่เราจะพัฒนานั้นอยู่ในเกณฑ์ หรือกรอบการพัฒนาดังนี้หรือเปล่า

กรอบการพัฒนาเกม ส่วนของ Game Play Design
ระบบการเล่นถูกออกแบบมาให้เล่นง่าย หรือเข้าใจง่ายหรือเปล่า ส่วนนี้คือ รูปแบบของเงื่อนไขการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเล่นเดิมๆ จากประเภทเกมที่เราหยิบมาพัฒนาหรือออกแบบการเล่นใหม่ ก็ต้องมีการออกแบบเงื่อนไขให้ง่ายเข้าไว้ ระบบเกมเป็นสิ่งที่จำเป็น ตามหลักความเป็นจริง การออกแบบระบบเกมที่น่าสนใจนั้น จะต้องอ้างอิงถึง Genre (ประเภทหมวดหมู่ของเกมที่เราจะหยิบยกมา เช่น เกมวางแผน Strategic, เกมแอ็คชั่น Action Game, เกมแนวจำลองสถานการณ์เรื่องราว หรือเกม RPG เป็นต้น) เมื่อได้ระบบการเล่นแล้ว ก็อยู่ที่ว่าเงื่อนไขการเล่นจะเป็นยังไง ก็อยู่ที่การออกแบบกรอบการพัฒนาเกมให้ครอบคลุม ไม่มีข้อผิดพลาด

ส่วนของกราฟิก Graphic Visual Style
การออกแบบเกมนั้น เรื่องของความสวยงาม หรือกราฟิกที่ปรากฏในทุกหน้าจอของเกมเป็นสิ่งสำคัญ Design Sense เป็นสิ่งสำคัญในการนำเสนอ เช่น เกมบนคอมพิวเตอร์ การออกแบบก็สามารถที่จะใช้ High Resolution คุณภาพของกราฟิกที่สูง สวยงาม แต่เมื่อเราต้องออกแบบเกมที่อยู่บนอุปกรณ์พกพาอย่าง Mobile Game แล้วล่ะก็ การออกแบบจำเป็นต้องคุมรูปแบบการออกแบบให้เบา และโหลดได้เร็ว ตัวอย่างเช่น เกมบน Mobile หลายๆ เกมในช่วงนี้ ใช้รูปแบบการดีไซน์เป็น Pixels Art เป็นต้น เพื่อความไวในการทำงาน และน่ารักไม่ถึงกับย้อนสมัย

สาระบันเทิงที่ปรากฏในเกม
ส่วนของสาระบันเทิงหรือ Edutainment เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการออกแบบเกมสำหรับบริษัท Game Developers Studio ใหม่ๆ เพราะการเล่าเรื่องที่ปูพื้นมานั้น บริษัทใหญ่ๆ ที่กินตลาดมาก่อนนั้น มีการปูเรื่องราวของเกม และตัวละครมาไว้ได้ดีแล้ว เช่น Blizzard กับเนื้อเรื่องของเกม War Craft เป็นต้น การใส่สาระบันเทิงลงไปในเกม จึงเหมาะกับการออกแบบเกมร่วมสมัย สำหรับการพัฒนาเกมของตัวเองขายในตลาด บริษัทสมัยใหม่จึงต้องหาจุดขายที่สร้างสรรค์การแฝงสาระเข้าไป เช่น เกม Vlogger go viral ของค่าย Tapps – Top Apps and Games ที่เป็นการจำลองอาชีพของ Video Blogger ให้น่าสนใจ และสามารถบอกเล่าถึงกระบวนการในชีวิตจริงได้อย่างละเอียดผ่านการใช้เกมเป็นสื่อการเรียนรู้

เกม Vlogger go Viral เป็นเกมสมัยใหม่ ที่มีจุดขายการแฝงสาระเข้าไป

เกม Vlogger go Viral เป็นเกมสมัยใหม่
ที่มีจุดขายการแฝงสาระเข้าไป

อย่าหยุดแค่ตัวเกมเกมเดียวที่ทำรายได้ทางเดียวแก่ทีม เมื่อตัวเกมที่พัฒนาขึ้น เริ่ม Release ปล่อยออกสู่ตลาดและเริ่มทำงาน ให้ประมาณการจากระยะเวลา 3 เดือนแรก ที่เป็นช่วงคืนเงินกำไร ให้ทีมงานคิด Project ใหม่เพิ่มมา และทำกระบวนการซ้ำเดิมไปต่อ

ตัวเกมเป็นการเล่าเรื่องของการหาประเด็นมาเล่า แล้วทำการ Research หรือศึกษาข้อมูลต้องใช้เวลาในการศึกษา ต่อจากนั้นคือการทำ Video Production แล้วคอยตอบคอมเมนต์จากแฟนคลับที่มารับชม พร้อมทั้งนำเงินที่ได้จากโฆษณาภายในเกมไปซื้อคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป ทำ Online Marketing เช่น เปิด Social Network รองรับการกระจายเป็นต้น

การประชาสัมพันธ์ตัวเกม
ช่องทางการประชาสัมพันธ์ตัวเกมตอนเริ่มต้นนั้น สามารถลงทุนได้ง่ายผ่านสื่อพื้นฐานคือ เว็บไซต์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. เว็บไซต์ Official ของบริษัท มีการบอกเล่า Blog เขียนขั้นตอนเล่าเรื่องการประชุมและนำเสนอแต่ละวัน หรือรายสัปดาห์ให้เห็นความคืบหน้าของงาน หากสไตล์การออกแบบและการนำเสนอตัวเกมถูกใจกลุ่มเป้าหมายจะมีคนเฝ้าติดตามและขอเสนอความเห็นมากมายให้กับทีมงานได้นำไปปรับใช้ เป็นการใช้ประโยชน์จากผู้บริโภคให้กลายเป็น Tester ได้อีกด้วย

2. เว็บไซต์ Portal ของกลุ่ม Community ของ Game Developers ที่เราสามารถไปขอเป็น Guest Blogger สำหรับบอกเล่าความคืบหน้าโครงงานของเราได้เช่นกัน

ต่อมาคือ Trailer Video ของตัวเกมของเรา : Trailers เกมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเราทำ Video Presentation นำเสนอสไตล์การออกแบบของเกม Concept Art และ Gameplay เป็นตัวอย่าง จะทำให้สื่อสารและสร้างความน่าสนใจของตัวเกมได้เพิ่มมากขึ้น จากกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจ ยอดการรับชมและข้อเสนอแนะ จะเป็นสิ่งที่บอกถึงแนวโน้มของเกมเราได้

เบื้องต้นของการทำ Video Presentation นั้น สามารถนำมาเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ Pilot Content เกมของเรา ก่อนจะพัฒนา คือมีแค่ไอเดียมานำเสนอก่อน โดยการตัดต่อนำเสนอให้กับผู้ที่รับชมได้บอกกับเราว่า ควรจะพัฒนาต่อหรือเปล่า

Business Model สำหรับรายได้ของเกม
โมเดลการทำเงินของเกม ต้องมีการออกแบบแต่แรกเลยว่า เกมที่เราพัฒนานั้นมีความแข็งแรงของเนื้อเรื่องและกระแสแต่แรก หรือ ระบบของเกมที่เรามั่นใจตอนทดสอบแล้วว่ามันดีจะส่งผลต่อการกำหนดราคา เช่น

1. รูปแบบ ราคาแบบซื้อขายครั้งแรก Paid-Game คือ แนวทางที่เหมาะสมกับเกมที่เราพัฒนาขึ้น เมื่อกระแสของเนื้อเรื่องและแนวโน้มความน่าสนใจของเกมเราอยู่ในแนวโน้มที่ดี จากการนำเสนอ Trailer Video ที่เราสามารถกำหนดราคาของเกมแต่แรกได้เลย ตามแนวทางที่บริษัทใหญ่ อย่าง Square Enix เป็นต้น

2. รูปแบบ Freemium แล้วใช้ In-App Purchase ขายไอเทมภายในเกม เหมาะกับเกมที่ปล่อยให้เล่นฟรี แล้วระบบเกมมีแนวโน้มสนุกจากการวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะและจำนวนผู้บริโภคที่ Spending ส่วนของเวลาและข้อเสนอแนะ ซึ่งจะมีผลให้การออกแบบเกมให้เกิดการยอมรับในการซื้อสินค้าในเกม เช่น ไอเทมของผู้เล่น ให้เกิดเป็นรายได้ของเกม

m7

Lifetime Values ของเกม
Lifetime ของเกมแต่ละเกมมีจำนวนความนิยมที่แตกต่างกันไป ต่างกับบางเกมมีระยะเวลาที่เหนียวแน่นกับผู้บริโภคไปยาวนาน และบางเกมก็มีกระแสที่ลดลงทันที แต่โดยเฉลี่ยของเกมแต่ละเกมนั้น เมื่อมีการเปิดตัวและมีการประชาสัมพันธ์อย่างน่าสนใจ จะมีค่าเฉลี่ย Lifetime Values ของเกมอยู่ที่ 3 เดือน ซึ่งต้องเป็น Break Point ที่เราต้องสร้างกำไร ไม่ว่าจากไอเทมในเกม หรือสปอนเซอร์จากผู้สนับสนุน

เพราะ Lifetime Values เป็นผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องมาจาก MAUs (Monthly Active Users) และ DAUs (Daily Active Users) กลุ่มผู้บริโภคที่เข้าเล่นเกมของเราทั้งรายเดือนและรายวัน ที่ยอดสถิติในการรักษาฐานนั้น พยายามให้คืนทุน และเกิดรายได้ให้ได้ภายใน 3 เดือน จะเป็นอะไรที่ปลอดภัยที่สุดของการทำบริษัทเกมที่เริ่มต้นการสร้างเกม ซึ่งรายได้ที่ได้มาเพื่อจะคืนทุน ต้องไม่คิดส่วนของค่าแรงทีมงาน และควบรวมรายจ่ายในการประชาสัมพันธ์โฆษณาไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย

แต่บางครั้ง Lifetime Values ของเกมบางเกมก็สามารถรักษาฐานของผู้เล่น หรือผู้บริโภคได้ยาวนานเหนียวแน่น ซึ่งนั่นก็มาจากการวางแผนการตลาดที่ครอบคลุมล่วงหน้าได้อย่างดี จาก Business Development และ Creative ที่สามารถปล่อย Release หรือส่วนเสริมของเกมออกเป็นตอนๆ แบ่งตามระยะ หรือการไปจัด Co-Promotion กับงานอีเวนต์ หรือสินค้าต่างๆ ให้มาเพิ่มเติมเข้าไปในเวอร์ชั่นใหม่ๆ ของเกมให้น่าสนใจ เป็นการ Tie-in สินค้าไปในตัว และต่อยอดกำไรของเกมที่เราพัฒนาให้มี Lifetime Values ยาวไปอีก แต่ยังไงก็ตาม Lifetime Values ก็มีช่วงเวลาที่หมดความนิยมไป สิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้คือ อย่าหยุดแค่ตัวเกมเกมเดียวที่ทำรายได้ทางเดียวแก่ทีม เมื่อตัวเกมที่พัฒนาขึ้น เริ่ม Release ปล่อยออกสู่ตลาดและเริ่มทำงาน ให้ประมาณการจากระยะเวลา 3 เดือนแรก ที่เป็นช่วงคืนเงินกำไร ให้ทีมงานคิด Project ใหม่เพิ่มมา และทำกระบวนการซ้ำเดิมไปต่อ โดยวางเป้าหมายให้ท้าทาย หรือลดขนาดลง ก็อยู่ที่แนวโน้มเกมแรกของเราได้รับ Feed Back เป็นยังไง เป็นตัวตั้งในการคาดการณ์แผนเกมต่อไปนั่นเอง

แนวทางจากที่บอกมาข้างต้นเป็นการเล่าประสบการณ์ของการเป็นทีม พัฒนาเกมที่พบเจอปัญหา และสื่อสารกันระหว่างระยะเวลาที่พัฒนาเกมร่วมกัน ทั้งข้อสังเกต ไปจนถึงการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ ครั้งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่จุดประกายให้กับกลุ่ม Startups ใหม่ที่ต้องการปูตลาดเกม สามารถนำไปต่อยอดความคิด และวางแผนการพัฒนากับตั้งทีมพัฒนาเกมของตนเองได้ เผื่อในอนาคตอาจจะมี Game Developers Studio สัญชาติไทยที่ไม่เป็นแค่ Outsource และไม่ได้เป็นแค่ผู้เล่นอยู่ฝ่ายเดียวเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวหน้าขึ้นในตลาดส่วนนี้ได้ดียิ่งขึ้นครับ

[efspanel style=”” type=””]
[efspanel-header]
Contributor
[/efspanel-header]
[efspanel-content]
banyapol2

บัญญพนต์ พูนสวัสดิ์

อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,นักเทคโนโลยีการศึกษา ชำนาญการด้าน Blended Learning และ Game-Based Learning ควบตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท เดย์เดฟ จำกัด ที่ปรึกษาด้านธุรกิจดิจิทัลด้วยประสบการณ์ในสายงานมากกว่า 10 ปี

Facebook: banyapon

Website: www.daydev.com

[/efspanel-content]
[/efspanel]