ICDL ยกระดับไอทีไทย สู่มาตรฐานสากล

ICDL ตั้งเป้าสร้างฐานศูนย์อบรมและวัดความรู้ด้านไอทีด้วยมาตรฐานโลกทั่วประเทศไทย ทั้งสถาบันการศึกษาและเอกชน หวังให้เป็นที่รู้จักและนิยมของทั้งผู้ใช้แรงงานและบริษัทเอกชน ในการรับรองทักษะความรู้ด้านไอที พร้อมเข้าทำงานในหน้าที่ต่างๆ โดยไม่ต้องลงทุนกับการฝึกอบรม

ฮิวจ์ส แพทริค โอคอนแนล ตัวแทน ICDL ประเทศไทย

ดร. ฮิวจ์ส แพทริค โอคอนแนล ตัวแทน ICDL ประเทศไทย

เครื่องการันตีความสามารถด้านไอที
The International Computer Driving License (ICDL) หรือประกาศนียบัตรรับรองความสามารถคอมพิวเตอร์สากล เริ่มมาจากแนวคิดร่วมกันของนานาประเทศในยุโรป ที่ต้องการพัฒนามาตรฐานสากลที่จะรับรองความรู้ความสามารถของบุคคลในการใช้คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถวัดระดับความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเอื้อต่อนโยบายที่เปิดให้แรงงานของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรปสามารถโยกย้ายไปทำงานระหว่างประเทศในสหภาพยุโรปได้อย่างเสรีและมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน ต่อจากนั้น ICDL ก็ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เอเชีย และแอฟริกา โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะยกระดับความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพิ่มขีดความสามารถการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานทั่วไปของบุคคลให้ได้มาตรฐานคุณภาพเช่นเดียวกัน

ICDL เป็นประกาศนียบัตรที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกและไม่ขึ้นตรงต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเท่านั้น สามารถวัดระดับและแสดงความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลในการใช้คอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานสากล ดังนั้น ICDL จึงเปรียบได้กับใบขับขี่สากล ซึ่งหากสอบผ่านในแต่ละหัวข้อ ก็จะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถในทักษะที่สอบผ่าน และสามารถนำไปใช้สมัครงานได้

ปัจจุบัน ICDL ได้รับการลงนามรับรองโดยหน่วยงานและสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ สหประชาชาติ ยูเนสโก หน่วยงานด้านการศึกษา และบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งโปรแกรม ICDL ได้ใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับราชการ บริษัทเอกชน หน่วยงานด้านการศึกษา มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนในนานาประเทศรวม 150 ประเทศทั่วโลก ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ รวม 42 ภาษา และรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนสอบไปแล้วกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก ข้อสอบและประกาศนียบัตร 50 ล้านฉบับ

sp2-2

ปัจจุบันระดับ Digital Literacy ของประชากรในประเทศอยู่ที่เพียง 11 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สิงคโปร์ที่เป็นผู้นำด้านไอทีของภูมิภาคมีระดับ Digital Literacy ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ และมาเลเซียอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์

ผ่านการยอมรับ จากหลายประเทศทั่วโลก
ICDL ได้แบ่งหลักสูตรประกาศนียบัตรออกเป็น 3 ระดับ ที่เหมาะกับทุกคนและการทำงานที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย 1. ระดับพื้นฐาน (Digital Literacy) เป็นทักษะด้านไอทีที่ทุกคนควรมี 4 วิชา ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การจัดการเอกสาร การบันทึกข้อมูลในรูปแบบตาราง และความรู้การใช้งานอินเทอร์เน็ต 2. ระดับเสริมสมรรถนะการทำงาน (Digital Competence)  และ 3. ระดับเชี่ยวชาญ (Digital Expertise)

การยอมรับ ICDL ของทั่วโลกนั้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากประเทศในยุโรปและหลายๆ ประเทศจัดให้ ICDL อยู่ใน National Qualification Framework และช่วยให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปสามารถก้าวสู่การเป็น e-Government ได้อย่างประสบความสำเร็จ เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน เป็นต้น ช่วยให้ประเทศเกษตรกรรมอย่างไอร์แลนด์กลายเป็น Digital Hub ของยุโรป หน่วยงานของรัฐบาลสิงคโปร์อย่าง Workforce Development Agency (WDA) ใช้ IDCL ในการพัฒนาแรงงาน ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้เร็ว ขณะที่บริษัทนานาชาติในสิงคโปร์หลายแห่งให้พนักงานผ่านหลักสูตร ICDL ได้แก่ Hitachi, Panasonic, BNP Paribas, Danone, OCBC Bank, DBS Bank, Shangri-la Hotel, Singapore Police Force เป็นต้น

อีกทั้งรัฐบาลเกาหลีใต้ใช้ ICDL เป็น Exit Exam สำหรับนักศึกษา 50 มหาวิทยาลัย และกำลังขยายไปทั้ง 165 มหาวิทยาลัย อินโดนีเซียเตรียมให้ 4,000 โรงเรียนใช้หลักสูตร ICDL สอนที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน 80 แห่ง โครงการ National IT Base ของมาเลเซีย สนับสนุนให้ประชาชนสอบ ICDL โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย 50 เปอร์เซ็นต์    ยูเนสโกจัดทุนพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ ICDL ให้กับนานาประเทศในแอฟริกา อีกทั้งรัฐบาลในกลุ่มประเทศอาหรับหลายประเทศใช้ ICDL ให้เป็นมาตรฐานหลักสำหรับข้าราชการทั้งหมด

e207

ฉบับที่ 207 เดือนมีนาคม

แพลตฟอร์มต่อไปของอีคอมเมิร์ซ

เครื่องมือพัฒนาความรู้ด้านไอทีไทย สอดรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล
ในประเทศไทยโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศสารสื่อสารได้เป็นแม่งานหลักของกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน ในการจัดมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศอาเซียนทั้งหมด อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางด้านไอทีของภูมิภาคนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันระดับ Digital Literacy ของประชากรในประเทศอยู่ที่เพียง 11 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สิงคโปร์ที่เป็นผู้นำด้านไอทีของภูมิภาคมีระดับ Digital Literacy ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ และมาเลเซียอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเป้าหมายหลักของประเทศไทยจึงเป็นการเร่งเพิ่ม Digital Literacy ของประชากรให้ได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
sp2-3
ดร. ฮิวจ์ส แพทริค โอคอนแนล ตัวแทน ICDL ประเทศไทย กล่าวว่า “ที่ผ่านมาประเทศไทยถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการนำเอามาตรฐานสากลระดับโลกต่างๆ เข้ามาพัฒนาคนในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา เรื่องมาตรฐานในการทำงาน เช่นเดียวกันกับในการทำธุรกิจยุคใหม่ที่ไอทีถือเป็นเรื่องสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่ของประเทศให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในมุมมองของเรา ประกาศนียบัตร ICDL จะเน้นไปที่การวัดทักษะความรู้ด้านไอทีที่จะเข้ามาช่วยสร้างรากฐานที่ดีให้กับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล”

จากการสำรวจของ ICDL ประเทศไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้สมัครงานกว่า 29 เปอร์เซ็นต์ แจ้งว่าตนเองมีทักษะความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการทำงานในระดับดีมาก และอีกกว่า 49 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าตนเองมีทักษะความรู้อยู่ในระดับดี แต่หลังจากนำเอากลุ่มคนตัวอย่างเหล่านี้เข้าทดสอบความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในหน้าที่ที่สมัครงาน พบว่ามีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของ ICDL ผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้ในหลักสูตรไอทีเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยความเข้าใจ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่กับประเทศไทย

ปัจจุบัน ในประเทศไทยได้มีหน่วยงานและองค์กรที่เป็นศูนย์สอบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถคอมพิวเตอร์สากล (ICDL Approved Test Centre) อยู่ 30 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานด้านการศึกษาต่างๆ อย่างไรก็ตามในปีนี้ ICDL ได้เริ่มเป็นที่รู้จักในบรรดาบริษัทใหญ่ๆ หรือหน่วยงานเอกชนต่างๆ อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะบริษัทด้านการเงินการธนาคาร โรงแรม โรงพยาบาล บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เป็นต้น

ปูทางสู่เป้าหมายในอาชีพด้วย ICDL
เป้าหมายของ ICDL ในประเทศไทย คือการขยายสู่ภาคประชาชนและบุคคลทั่วไป ทั้งในแง่ของข้อได้เปรียบและความจำเป็นของการมีประกาศนียบัตรทักษะความรู้ด้านไอที ให้เป็นที่เข้าใจและได้รับความนิยมเช่นเดียวกับการสอบประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษในแง่ของภาครัฐ การศึกษาและเอกชน ก็จะมีการผลักดันให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะเลือกใช้มาตรฐานไอทีระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานของ ICDL ที่ได้รับเลือกจากรัฐบาลในหลายประเทศ ในการนำไปใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการประเมินทักษะความรู้ที่กำหนดอยู่ในแผนพัฒนาความรู้ด้านไอทีของประเทศ

การมีความสามารถด้านการใช้งานทางด้านไอทีที่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง และมีใบประกาศนียบัตรมาตรฐานสากล ICDL ที่แสดงว่ามีทักษะจริงตามที่นายจ้างต้องการ ย่อมเป็นการพิสูจน์ให้นายจ้างเห็นว่ามีทักษะที่เหมาะกับความก้าวหน้าในการทำงานยุคดิจิทัล และแน่นอนว่าใบประกาศนียบัตรมาตรฐานสากล ICDL เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก สามารถนำไปใช้ทั้งในการสมัครงานและการยืนยันความสามารถทางด้านไอทีได้ทั่วโลกอีกด้วย จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ หรืออยากประสบความสำเร็จในอาชีพอย่างสูงสุด