จับคู่ธุรกิจยุคโมบายล์
กับประเทศเกาหลี และอินเดีย

เว็บไซต์ Thaitrade.com เปิดตัวในระบบออนไลน์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ถือเป็น Thailand B2B Marketplace ขนาดใหญ่ของเมืองไทย ปัจจุบัน มีร้านค้ากว่า 13,000 ร้านค้า ประกอบด้วยสินค้ามากกว่า 200,000 รายการ จากทั้งหมด 50 หมวด และมีผู้ซื้อจากประเทศต่างๆ เข้าชมสินค้ากว่า 2 ล้านราย จาก 200 ประเทศทั่วโลก และลงทะเบียนเป็นสมาชิกผู้ซื้อแล้วกว่า 17,000 ราย

อารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

อารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

การจัดงานแฟร์ผ่านออนไลน์กับ TradeKorea.com โดยมี Account เพื่อล็อกอินเข้ามาในระบบของงานแฟร์ ให้ผู้ซื้อชาวไทยเข้าไปในงานแฟร์ของประเทศเกาหลี และผู้ซื้อชาวเกาหลีเข้ามาในหน้างานแฟร์ของประเทศไทย

อารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ความสำเร็จในการให้บริการเว็บไซต์ Thaitrade.com จึงได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อให้สะดวกในการใช้งานบนโมบายล์แพลตฟอร์ม และเปิดให้ใช้งานเมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยสมาชิกผู้ซื้อจะได้พบกับสินค้าคุณภาพใหม่ล่าสุด สินค้าโปรโมชั่น หรือเลือกค้นหาสินค้าได้ด้วยตนเอง ผ่านหน้าจอที่ปรับเมนูได้ตามต้องการ ส่วนผู้ขายจะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อ และตอบสนองได้ทันทีผ่านการแชต (Chat) หรือวิดีโอ คอลล์ (Video Call) ส่งผลให้ผู้ซื้อผู้ขายจับคู่เจรจาธุรกิจกันได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์

จัดการให้คู่ค้าได้เจอกันเร็วขึ้น
อารดา กล่าวต่อว่า ฟีเจอร์การซื้อ-ขายเจรจาทางธุรกิจบนเว็บไซต์มีครบถ้วนเหมือนเว็บไซต์ซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ทั่วไป ยกเว้นเรื่องการชำระเงินเท่านั้นที่จะเปิดให้บริการสิ้นปีนี้ แต่อยากให้สมาชิกผู้ขายเห็นถึงความสำคัญของการโปรโมตสินค้าโดยการเข้ามาโพสต์สินค้าและอัพเดตสินค้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างหน้าเว็บเพจของแบรนด์ตัวเองให้น่าสนใจ และดึงดูดผู้ซื้อเข้ามาชม ซึ่ง Thaitrade.com มีเครื่องมือในการตกแต่งหน้าร้านให้กับผู้ประกอบการได้เลือกใช้ หรือสามารถทำเองและนำมาลงหน้าร้านก็ได้ โดยสามารถโพสต์ได้ทีละชิ้นหรือหลายๆ ชิ้นพร้อมกัน

จุดอ่อนของผู้ประกอบการไทยคือ ไม่มีเวลาในการอัพเดตข้อมูลสินค้า ดังนั้น จึงมีทีมงานที่ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือกับผู้ขายในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เหมือนกับการจับมือทำ เช่น บริการถ่ายรูปสินค้าให้ทุกวันศุกร์ ผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ในการเลือกถ่ายรูปมุมสินค้าให้มีความน่าสนใจ เพียงแจ้งความต้องการเข้ามา หรือถ้าไปออกงานตามจังหวัด ทีมงานส่วนนี้จะไปให้บริการถ่ายภาพสินค้าของผู้ประกอบการตามภูมิภาคนั้นๆ พร้อมกับการให้คำปรึกษาในการขายสินค้า

อารดา กล่าวต่อว่า ระบบของ Thaitrad.com พยายามจะพัฒนาฟีเจอร์ให้คู่ค้าธุรกิจสามารถเจอกันได้เร็วที่สุด เช่น ฟังก์ชั่น Buying Request คือบริการจัดการความต้องการซื้อให้กับผู้ซื้อทั่วโลกที่ต้องการติดต่อเข้ามาซื้อสินค้าไทย เนื่องจากปัญหาหลักของผู้ขายคนไทยคือ ไม่มีการตอบรับกลับไป เมื่อมีการติดต่อจากผู้ซื้อชาวต่างชาติ ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นเรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าคนไทยต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เมื่อจะทำการค้าผ่านออนไลน์ การนั่งรอออเดอร์คือรูปแบบการค้าเก่า เพราะการค้าขายในปัจจุบัน ต้องทราบว่าความอดทนของคนมีน้อยลง จะให้มารอตอบกลับเพียงเจ้าเดียวคงไม่มีอีกแล้ว

ทาง Thaitrade.com จึงสร้างทีมงานขึ้นมาช่วยตอบกลับข้อความให้กับผู้ขาย เมื่อมีการติดต่อมาจากระบบ Buying Request จากผู้ซื้อภายใน 24 ชั่วโมง เช่น ผู้ซื้อต้องการสั่งซื้อกิ๊บติดผมเข้ามา ทีมงานจะตอบกลับไปยังผู้สนใจสั่งซื้อกิ๊บก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยยินดีจะทำการค้ากับเขา เมื่อตอบเสร็จจะทำการค้นหาสินค้าบน Thaitrade.com และ Attach รายการสินค้าต่างๆ ไปให้กับเขาเพื่อให้เลือกว่ามีสินค้าตัวใดที่ตรงกับความต้องการ

e196

ฉบับที่ 196 เดือนเมษายน

ซื้อ-ขายใน AEC+6 ด้วยโมบายล์

ผู้ซื้อแบบเก่าสะดวกในการเจอคู่ค้าแบบใหม่
อารดา กล่าวว่า ถึงแม้บนเว็บไซต์จะเปิดให้ผู้ซื้อค้นหาคู่ค้าด้วยตัวเอง และ Inquire ส่งตรงไปหาผู้ขายได้ทันที แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับผู้ซื้อแบบเก่าที่คุ้นชินกับการติดต่อผ่านทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น อีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้น ได้แก่ Sourcing Service ซึ่งระยะเวลาในการให้บริการจะรวดเร็วกว่าระบบเดิมมากขึ้น ทำให้สะดวกในการค้นหา ได้รับข้อมูลและภาพประกอบครบถ้วน ที่ไม่ใช่แค่รายชื่อผู้ประกอบการและรายละเอียดสินค้าที่จำหน่ายเหมือนเมื่อในอดีต

B2B ทำธุรกิจง่ายขึ้นบนออนไลน์
ลูกค้าชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้ากับผู้ประกอบการในไทย ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการทำ Business Matching จากเมื่อก่อนที่ต้องจัดเวทีในการพบปะพูดคุยกันโดยต้องใช้เวลาเตรียมการอย่างน้อย 4 เดือน ซึ่งหลังจากจบงาน อาจมีการจับคู่เพียง 10 คู่ แต่เมื่อเข้ามาออนไลน์สามารถช่วยให้การจับคู่ธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น เพราะใช้เวลาในการเตรียมงานเพียง 3 อาทิตย์ สามารถจับคู่ได้ทั้งหมด 125 คู่ ซึ่งจะเห็นว่าการดำเนินงานผ่านออนไลน์ทำให้การจับคู่ธุรกิจได้รวดเร็วและรองรับความต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้มากกว่า ในระยะเวลาที่สั้น

อารดา กล่าวว่า การทำ Business Matching ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งที่ทำผ่านออนไลน์ทั้งหมด หรือพูดคุยเจรจาจนเกือบจะตกลงทำธุรกิจร่วมกัน แต่ต้องการเห็นหน้ากันก่อนเพื่อมาดูศักยภาพโรงงานที่จะทำสินค้าให้ถึงจะปิดดีลการค้า ซึ่งลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคู่ค้าที่เพิ่งทำธุรกิจกันครั้งแรก และมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก

ข้อดีของการพูดคุยกัน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Thaitrade.com ทำให้ผู้ซื้อปิดดีลการทำธุรกิจได้เร็ว และประหยัดเวลามากยิ่งขึ้นกว่าการวางแผนมาเจอและพูดคุยกันภายในงานแฟร์ที่มีการจัดเวทีให้นัดเจอเพื่อเจรจาธุรกิจ เนื่องจากต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจในรูปแบบ B2B ส่วนใหญ่ก่อนตกลงซื้อขายสินค้าในจำนวนมากต้องมีการนัดเจอกันก่อน

[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
39466
[/efscolumn]

[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
39464
[/efscolumn]

[efscolumn lg=”4″ md=”4″ smoff=”0″ mdoff=”0″ lgoff=”0″ ]
39467
[/efscolumn]
 

ยกตัวอย่างเช่น การจัดงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ผ่านมา ผู้ซื้อต่างชาติได้มีการติดต่อทางกรมฯ ขอนัดเจอกับผู้ขายเมื่อมาถึง เพราะเคยพูดคุยกันแล้วผ่านออนไลน์ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการวางแผนหรือคาดการณ์ในการสุ่มเลือกผู้ขาย และเดินพูดคุยเจรจาการค้าทีละบูทเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งใช้เวลาหลายวัน แต่รูปแบบใหม่นี้สามารถช่วยให้ผู้ซื้อวางแผนเจอคู่ค้า 20 ราย ที่ตรงกับความต้องการและจบการเจรจาได้ภายใน 1 วัน

ถ้าผู้ซื้อไม่สะดวกมาเจอผู้ขายได้ด้วยตัวเอง แต่อยากพบหน้าคู่ค้าธุรกิจก่อนตัดสินใจซื้อ สามารถแจ้งมาทางกรมฯ ได้ในการนัดเจอกัน เพื่อพูดคุยผ่าน Video Conference ซึ่งรูปแบบนี้เคยจัดร่วมกับสมาคมผู้นำเข้าเกาหลี Koima ในการนำผู้ซื้อชาวเกาหลีกับผู้ขายชาวไทย เปิดเวทีพูดคุยกันมาแล้ว

สำหรับคู่ที่สามารถเจอและปิดดีลกันได้บนออนไลน์ ส่วนใหญ่จะเป็นยอดสั่งซื้อไม่สูงมาก เพื่อดูคุณภาพสินค้าและบริการเท่านั้น เหมาะกับการซื้อสินค้าจากผู้ขายรายใหม่ ช่วยลดความเสี่ยงให้กับผู้ซื้อและผู้ขายคนไทยก็มีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น

การสร้างความน่าเชื่อถือ
อารดา กล่าวต่อว่า เว็บไซต์ Thaitrade.com มีมาตรการในการคัดกรองผู้ขายและผู้ซื้อที่มีคุณภาพเข้ามาในตลาดแห่งนี้ สำหรับคุณสมบัติของผู้ขายจะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. มีประสบการณ์การส่งออกหรือเป็นสมาชิกส่งออก (EL) ของกรมส่งเสริมการส่งออก และ
  2. เอสเอ็มอีที่ไม่มีประสบการณ์การส่งออก แต่มีศักยภาพและมีแผนการส่งออกที่ดีจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณี เช่น รับรางวัลคุณภาพต่างๆ หรือประกาศนียบัตรรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

ในส่วนของผู้ซื้อแบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นกัน ได้แก่

  1. ผู้ที่สนใจสมัครเข้ามาเองซึ่งกลุ่มนี้จะไม่สามารถคัดกรองได้มากเท่าไร
  2. สมาชิกที่กรมส่งเสริมการค้าในต่างประเทศหรือทูตพาณิชย์ที่ตอนนี้มีทั้งหมด 62 สำนักงานทั่วโลกจะช่วยคัดกรองผู้ซื้อให้จากผู้ซื้อที่สนิทสนมด้วย เข้ามาในระบบอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ Thaitrade.com มีการดำเนินงานเหมือนภาคเอกชน เมื่อมีการร้องเรียนเข้ามา หรือแค่มีคนแจ้งว่าผู้ขายคนนี้ไม่น่าเชื่อถือ ทีมงานจะนำชื่อผู้ประกอบการรายนั้นลงจากเว็บไซต์ทันที และเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เป็นจริงตามข้อกล่าวหา เราจะนำชื่อผู้ประกอบการรายนั้นขึ้นบนเว็บไซต์ แต่ถ้าผิดจริงจะนำขึ้นบัญชีดำไว้

อารดา กล่าวต่อว่า ในส่วนของผู้ซื้อด้านพันธมิตรจะมีหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศช่วยในการคัดกรองผู้ซื้อ เช่น World Class E-Marketplace ต่างๆ ได้แก่ Alibaba.com Tradekorea.com, Tradeindia.com และ HKTDC.com เพราะหน่วยงานเหล่านี้เป็น E-marketplace ที่มีวัตถุประสงค์ตรงกันในการทำให้เกิดกิจกรรมทางการค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตาม

กลุ่มเหล่านี้จะต้องสกรีนสมาชิกผู้ซื้อเหมือนกัน เพราะมีการเรียกเก็บเงินกับสมาชิกในการบริหารจัดการ เนื่องจากเป็นหน่วยงานเอกชน ดังนั้นจะต้องคัดกรองคู่ค้าและทำให้เกิดผลขึ้นจริงในตลาดของพวกเขาซึ่งเมื่อสมาชิกต้องการซื้อสินค้าจากประเทศไทย หน่วยงานเหล่านี้จะติดต่อมาทาง Thaitrade.com ก่อนเพราะเป็นหน่วยงานภาครัฐ

พันธมิตรอีกกลุ่มที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำการค้าระหว่างประเทศกับโครงการ Thaitrade.com นี้ได้แก่ กลุ่มโลจิสติกส์ และธนาคาร ซึ่งได้รับความร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพในการพัฒนาระบบชำระเงิน และดีเอชเอลพันธมิตรล่าสุดในการดูแลเรื่องบริการจัดส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ

สำหรับเว็บไซต์ Thaitrade.com ปัจจุบันสามารถเข้ามาค้นหาสินค้า จับคู่ทางธุรกิจ และเจรจาธุรกิจได้แล้ว เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้ายในการชำระเงิน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้สิ้นปีนี้ ด้วยความเป็นการค้าขายในรูปแบบ B2B จึงต้องอาศัยความไว้วางใจกันระดับหนึ่ง และจำนวนการสั่งซื้อสินค้ามีจำนวนมากจนเกินกว่าบัตรเครดิตจะรองรับได้ รวมถึงต้องการสร้างโอกาสเพิ่มขึ้นในส่วนของการสั่งซื้อจำนวนไม่มากกับการทดลองสั่งซื้อสินค้า ซึ่งเมื่อนำระบบ Payment Gateway ของธนาคารกรุงเทพมาเชื่อมต่อจะทำให้สามารถทำธุรกรรมกันได้ง่ายยิ่งขึ้น

2

ตลาดอินเดียถือเป็นตลาดสำคัญ เพราะมีความต้องการสินค้าในทุกประเภท และผู้ซื้ออินเดียมีความสนใจในตลาดไทยอย่างมาก และชื่นชอบสินค้าไทยเนื่องจากมีคุณภาพ สินค้าที่ได้รับความนิยม ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในชีวิตประจำวัน ของขวัญ

ในกรณีที่สินค้ามีปัญหาภายในเว็บไซต์จะบอก Terms & Conditions ให้ทราบถึงการยอมรับเงื่อนไขในการซื้อ-ขายแบบมาตรฐานสากล ซึ่งขึ้นอยู่กับคนขายแต่ละคนเขียนว่าอย่างไร ผู้ซื้อสามารถยอมรับได้หรือไม่ แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องระบบการชำระเงิน ธนาคารจะเข้ามาช่วยแก้ไขดูแล

สินค้าไทยคือแถวหน้าอาเซียน
ประเทศไทยมีการติดต่อเรื่องการค้ากับกลุ่มประเทศ AEC+6 เป็นหลัก โดย 6 ประเทศที่เพิ่ม ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งสินค้าไทยจัดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นของกลุ่มอาเซียน เนื่องจากประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่เคยติดต่อทำการค้ายอมรับถึงคุณภาพของสินค้า และเป็นที่ต้องการของตลาดสูง

อารดา เผยว่า หลังจากมีช่องทางการติดต่อธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Thaitrade.com ลูกค้าในกลุ่มประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น กลับมาสั่งซื้อสินค้าไทยมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงสินค้าได้สะดวกและรวดเร็ว ที่สำคัญเป็นหน่วยงานภาครัฐในการสร้างตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเองจึงทำให้สร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น

จากความร่วมมือกับ World Class E-Marketplace ได้แก่ Tradekorea.com, Tradeindia.com เป็นต้น ได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดงานแฟร์ผ่านออนไลน์กับ Tradekorea.com โดยมี Account เพื่อล็อกอินเข้ามาในระบบของงานแฟร์ ซึ่งผู้ซื้อชาวไทยเข้าไปในงานแฟร์ของประเทศเกาหลี และผู้ซื้อชาวเกาหลีเข้ามาในหน้างานแฟร์ของประเทศไทย และปล่อยให้มีเวลาพูดจาทางธุรกิจซื้อ-ขายกันอย่างอิสระ

ล่าสุด ร่วมมือกับ Tradeindia.com ในการจัด Business Matching ให้ผู้ประกอบการไทยที่สนใจตลาดอินเดีย จำนวน 19 ราย ได้ไปพบผู้ซื้อชาวอินเดียที่เคยพูดคุยกันผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว สามารถทำการจับคู่ธุรกิจได้ถึง 140 คู่ และมีมูลค่าคาดการณ์ซื้อ-ขายมากกว่า 22 ล้านบาท

ตลาดอินเดียถือเป็นตลาดสำคัญ เพราะมีความต้องการสินค้าในทุกประเภท และผู้ซื้ออินเดียมีความสนใจในตลาดไทยอย่างมาก และชื่นชอบสินค้าไทยเนื่องจากมีคุณภาพ สินค้าที่ได้รับความนิยม ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในชีวิตประจำวัน ของขวัญ เป็นต้น

ขณะเดียวกันก็ทำให้คนไทยหาแหล่งผลิตสินค้าภายในประเทศได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะบางทีที่คนไทยไปซื้อสินค้าจากประเทศจีนโดยไม่รู้ว่า ผู้ที่ส่งสินค้าไปให้จีนคือ ผู้ประกอบการคนไทยด้วยกัน ซึ่งถ้ารู้จะทำให้เขาสามารถซื้อสินค้าคุณภาพดีในราคาที่ต่ำกว่า จึงถือเป็นการเปิดโอกาสด้าน Supply Chain ให้กับคนในประเทศด้วย

“การเติบโตของการจับคู่ธุรกิจการค้าในแบบ Business Matching ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ปีนี้ถือว่ามีการเติบโตสูงและรวดเร็วมาก จากปีที่ผ่านมามีการจับคู่กว่า 1,000 ราย ซึ่งเมื่อก่อนอาจต้องใช้เวลาถึง 1-2 ปี แต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ มีการจับคู่ผ่านออนไลน์สำเร็จแล้วกว่า 400 คู่ ซึ่งจะเห็นว่าออนไลน์เข้ามาช่วยให้อัตราการขยายตัวของการทำธุรกิจข้ามชาติให้เติบโตอย่างรวดเร็ว จากเดิมตั้งเป้าว่าจะผลักดันให้มีการจับคู่ธุรกิจจากแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งปี 300 คู่ แต่ตอนนี้ทะลุเป้าหมายแล้วซึ่งทำให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยมีความกระตือรือร้นในการจับคู่ธุรกิจในช่องทางใหม่นี้มากขึ้น” อารดา กล่าว