สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ในยุค IoT

สุนาถ ธนสารอักษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แรบบิทส์ เทลล์ จำกัด และคณะกรรมการบริหาร แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป

สุนาถ ธนสารอักษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แรบบิทส์ เทลล์ จำกัด และคณะกรรมการบริหาร แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป

ปัจจัยจากเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จะนำพาให้แบรนด์เติบโตไปได้ไกล และมีอิมแพคกับผู้บริโภคไม่ได้มีอยู่เพียงแพลตฟอร์มหลักแบบเดิมๆ ซึ่งกลุ่มคนที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน และนำหน้าไปคือ บรรดาเอเยนซี่ และผู้ทำงานด้านคอนเทนต์ เพื่อนำสินค้าและบริการต่างๆ ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกที่ถูกทาง

แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป หนึ่งในธุรกิจที่ครอบคลุม Digital Communications โดยเริ่มจากการเป็นดิจิทัลเอเยนซี่ภายใต้ชื่อ แรบบิท เทลล์ และเติบโตก้าวกระโดดจนร่วมทุนกับ TYO บริษัทโฆษณารายใหญ่ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณาที่มีธุรกิจครอบคลุมเกี่ยวกับโฆษณา ทั้ง Production, Creative Agency, Animation, Web&App Production, Digital Agency ในส่วนของ Production ติด Top 3 ในประเทศญี่ปุ่น และได้ทำตลาดในภูมิภาคเอเชียมาแล้ว ซึ่งได้แก่ ประเทศจีน สิงคโปร์ อินเดีย และอินโดนีเซีย

Digital Communication ที่เป็นมากกว่า ดิจิทัลเอเยนซี่
สุนาถ ธนสารอักษร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แรบบิทส์ เทลล์ จำกัด และคณะกรรมการบริหาร แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป กล่าวว่า Digital Creative Agency ยังเป็นแค่มุมเดียวของอุตสาหกรรมนี้ คนที่ทำตรงนี้ก็มุ่งทำแต่ด้านโฆษณา ซึ่งการทำงานควรจะครอบคลุมทั้งหมดเพื่อผลักดันแบรนด์ คือ การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมภาพลักษณ์ ดีไซน์ ทุกอย่างที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล โมเดลเดิมๆ อย่าง Paid – Owned – Earned ยังคงเป็นหลักการที่มีผลในยุคดิจิทัล โดยจุดสำคัญอยู่ที่การสร้างตัวตนให้มีภาพลักษณ์และความไว้วางใจ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตสื่อที่ต้องช่วยให้แบรนด์มีมาตรฐานที่แข็งแกร่ง

cc4

เว็บไซต์และแอพฯ นับว่าเป็นพื้นฐานของความน่าเชื่อถือ ที่แต่ละแบรนด์จำเป็นต้องมีเพื่อให้บริการในยุคออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่า การทำงานของทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่ได้หยุดนิ่ง จึงต้องมีการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างมีเสถียรภาพ เปิดใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ ไม่กินเนื้อที่เกินความจำเป็น และต้องเกิดประโยชน์ในระยะยาวกับผู้ใช้งาน เพื่อจูงใจให้เก็บแอพฯ ไว้ ในสภาวะที่ความจำเครื่องมีขีดจำกัด

“ดิจิทัลแบบไทยๆ มีความแปลกในการใช้งาน อย่างการฝากร้านในอินสตาแกรม ซึ่งไม่มีใครทำ แต่มันก็ได้ผล ทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วทุกช่องทางมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค คนยุคนี้ไม่รอนาน หน้าเว็บฯ โหลดนานก็ปิด แคมเปญไม่น่าสนใจก็ปล่อยผ่าน เสิร์ชหาแล้วไม่ติด SEO ก็เสียโอกาส ตรงนี้คือ จุดที่ดิจิทัลเข้ามาท้าทายแบรนด์ต่างๆ ให้ต้องสรรหาวิธีที่ต้องตอบโจทย์ตรงนี้ให้ได้ ดิจิทัลเอเยนซี่ก็เช่นกัน ต้องตามสิ่งเหล่านี้ให้ทัน และสร้างสรรค์ออกมาให้ได้”

ในการส่งต่อคอนเทนต์ ปัจจุบันไม่ได้อยู่แต่เพียงสื่อหลักเท่านั้น แพลตฟอร์มดิจิทัล รวมทั้งคนที่มีตัวตนบนโลกออนไลน์ สามารถเป็นเครื่องมือที่เผยแพร่ข้อมูลได้เช่นกัน ขณะเดียวกันต้องมีการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ฉบับที่ 214 เดือนตุลาคม

AI สำหรับแบรนด์ ผู้ช่วยในยุค IoT

การร่วมมือกับ TYO จากญี่ปุ่น เนื่องจากตลาดคนไทยและคนญี่ปุ่นจะมีความเฉพาะตัวสูงมาก การที่คนของสองประเทศนี้จะชอบอะไรได้เป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งเมื่อร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ กัน จะทำให้สร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆ ด้วย ซึ่ง TYO เป็นบริษัทโฆษณาที่มีธุรกิจครอบคลุมเกี่ยวกับโฆษณา ทั้ง Production, Creative Agency, Animation, Web&App Production, Digital Agency ในส่วนของ Production ติด Top 3 ในประเทศญี่ปุ่น และได้ทำตลาดในภูมิภาคเอเชียมาแล้ว ได้แก่ ประเทศจีน สิงคโปร์ อินเดีย และอินโดนีเซีย

ใช้ตัวช่วยตรวจจับข้อมูลเพื่อหาผลตอบรับในยุคข้อมูลล้นหลาม

• Social Listening การฟังเสียงคนพูดผ่านโซเชียลฯ ว่า ชอบหรือไม่ชอบ เกี่ยวกับแบรนด์นั้นๆ แต่ยังไม่สามารถวัดระดับความมากน้อยได้

• Social Monitoring การจับตาดูด้วยเครื่องมือ สามารถตั้งค่าข้อความ เพื่อจับตาดูเฉพาะเรื่อง โดยการใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

เนื่องจากคนยุคดิจิทัลมีพฤติกรรมที่ชอบแชร์ และบอกความรู้สึกผ่านพื้นที่บนโลกออนไลน์ โดยเห็นได้ว่า หลายคนเลือกแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์พันทิป ทวิตเตอร์ หรือโพสต์เฟซบุ๊ก มากกว่าการติดต่อพูดคุยกับแบรนด์โดยตรง ส่งผลให้เกิดการกระจายข่าวเป็นวงกว้าง และกระทบกับภาพลักษณ์ของแบรนด์

cc2

การเชื่อมต่อในปัจจุบันถูกใช้โดยมนุษย์เป็นหลัก เมื่อเข้าสู่โลกของ Machine-to-Machine ดาต้าก็จะถูกใช้มากขึ้น การเตรียมความพร้อมของการเชื่อมต่อตรงนี้จึงสำคัญ

สิ่งที่แบรนด์ต้องทำ นอกจากสร้างมาตรฐานและความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองแล้ว คือการรับฟังและแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ซึ่งจากข้อมูลในปี 2014-2015 พบว่า มีข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นต่างๆ มากกว่าที่เคยมีมาทั้งหมดรวมกัน ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถจัดการได้อย่างทั่วถึง

“เมื่อเราไม่สามารถจัดการได้ด้วยคนอีกต่อไป จึงต้องมีเครื่องมือที่เรียกว่า Social Listening และ Social Monitoring เพื่อศึกษาว่ามีใครพูดอะไร ชอบไม่ชอบอย่างไร แต่ก็ยังคงเป็นระดับพื้นฐาน ยากที่จะมาแทนคน เพราะยังวัดระดับอารมณ์ไม่ได้มาก แต่ถ้าแบรนด์ใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก หรือให้งานบริการเอง ก็ควรมีเครื่องมือเหล่านี้”

เตรียมพร้อมการทำงานให้สอดรับเทคโนโลยีใหม่
วิธีการสื่อสารในยุคนี้ ประกอบไปด้วยปัจจัย 3 อย่าง คือ Technology, Content และ Connectivity ซึ่งต้องมีการพัฒนาควบคู่กันไป เทคโนโลยีในรูปแบบของ Hardware ก็มีบทบาทนำเสนอสิ่งต่างๆ ออกมาให้น่าสนใจ และเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ Content ต้องปรับตัวตามสิ่งเหล่านี้ ผู้ผลิตต้องหาวิธีที่จะนำเนื้อหาไปอยู่บนพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

cc3

ที่น่าสนใจคือ เรื่อง Connectivity เนื่องจากการใช้งานการเชื่อมต่อในปัจจุบันถูกใช้โดยมนุษย์เป็นหลัก ทำให้การใช้งานยังคงไหลลื่นไปได้ แต่ในอนาคต เมื่อเข้าสู่โลกของ Machine-to-Machine ดาต้าก็จะถูกใช้มากขึ้น การเตรียมความพร้อมของการเชื่อมต่อตรงนี้ก็สำคัญ

ไม่ใช่แค่เพียงเอเยนซี่เท่านั้นที่จะต้องปรับตัว ผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีบริการการเชื่อมต่อ และผู้บริโภคต้องมีความพร้อมด้วยเช่นกัน เพราะเทคโนโลยีที่เคยเป็นแค่ความคิดกำลังเข้ามาใกล้ และเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่ผ่านมา

“ทุกอย่างเกี่ยวโยงกัน ทุกคนต้องปรับตัว แบรนด์ต้องเข้าสู่ดิจิทัลและคนผลิตสื่อก็ไม่ใช่ทำแต่สื่อเพียงอย่างเดียว เราต้องก้าวตามให้ทันว่าอะไรกำลังมา อย่างเมื่อก่อนเราขี่ม้า แล้วในวันหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นรถยนต์ ทุกคนใช้รถยนต์ เราก็ต้องหัดขับรถยนต์ และใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเราต้องเรียนรู้เรื่องการปรับตัว”