AI และ VR เทคโนโลยีพลิก การสื่อสารแบรนด์

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้ง Thumbsup

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้ง Thumbsup

เทคโนโลยี AI จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนโลกยุคดิจิทัล โดยเปรียบเสมือนเป็นหุ่นยนต์ ที่ช่วยทุ่นแรงมนุษย์ ซึ่งเทรนด์ในปี 2017 มีการนำ AI มาใช้ในรูปแบบของ Chat Bot เพื่อตอบคำถาม หรือให้ข้อมูลกับผู้บริโภคมากขึ้น

ในงานสัมมนาดิจิทัล DAAT Day 2016 บนเวทีสัมมนาหัวข้อ Digital Trend Spotting 2017 มีการพูดถึงเทรนด์สำคัญที่จะเกิด โดยมีการโฟกัสไปที่ 3 เทรนด์หลัก ได้แก่ การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กระแสของ VR ที่เชื่อว่าในอนาคตจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีไว้ติดบ้าน รวมไปถึงการผนวกความสามารถของเทคโนโลยีลงสู่การใช้งานจริงผ่านอุปกรณ์ IoT

Chat Bot ของสำนักข่าว CNN ที่ช่วยสรุปข่าวให้ผู้บริโภค รวมถึงแนะนำข่าวสารที่ผู้บริโภคต้องการ

Chat Bot ของสำนักข่าว CNN ที่ช่วยสรุปข่าวให้ผู้บริโภค รวมถึงแนะนำข่าวสารที่ผู้บริโภคต้องการ

AI สร้าง Chat Botด้วยคอนเทนต์แบบเฉพาะ
อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้ง Thumbsup กล่าวว่า ในขณะนี้มีการนำ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาใช้งานในหลายวงการ เช่น การนำ AI ไปใช้ในธุรกิจการเงินการธนาคาร เช่น กรณีของ Robo-Advisor แพลตฟอร์มให้คำแนะนำด้านการเงินและการลงทุน เป็นต้น ขณะที่ประเทศไทยเริ่มเห็นหลายแบรนด์นำ AI เข้ามาใช้ในรูปแบบของ Chat Bot แล้ว สิ่งที่สำคัญอยู่ที่เป้าหมายของการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ รวมไปถึงเป้าหมายทางธุรกิจ อย่างเช่น Chat Bot ของสำนักข่าว CNN ที่เข้ามาช่วยสรุปข่าวให้ผู้บริโภค รวมถึงแนะนำข่าวสารที่ผู้บริโภคต้องการแบบเฉพาะเจาะจงให้ได้ (http://m.me/cnn) โดย CNN ได้พัฒนาให้สามารถเลือกส่งข่าวที่ตรงตามความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง

“การนำ AI และ Chat Bot มาใช้ จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ หลังจากที่ Mark Zuckerberg ได้เข้ามาลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผ่านแอพพลิเคชั่นแชตของ Facebook อย่าง Messenger ก็ทำให้กระแสนี้กลับมาหวือหวาอีกครั้ง โดยจุดสำคัญนั้นอยู่ที่ความสามารถในการติดตาม และสร้างคอนเทนต์แบบเฉพาะเจาะจงให้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคได้” อรนุช กล่าว

แบรนด์รองเท้า Merrell ให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ปีนเขาแบบเสมือนจริง ขณะสวมใส่รองเท้า

แบรนด์รองเท้า Merrell ให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ปีนเขาแบบเสมือนจริง ขณะสวมใส่รองเท้า

AI ไม่ได้มาแย่งงานมนุษย์
สำหรับรูปแบบการใช้ AI มี 4 ขั้นตอนด้วยกัน ประกอบด้วย 1. Interact บุคคลเริ่มทำการสื่อสารกันผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการ 2. Interpret โดยโปรแกรมจะทำการวิเคราะห์ประโยคหรือคำตามบริบททางภาษา เพื่อแปลความหมายในสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการโดยอาศัยเทคโนโลยี NLP (Natural Language Processing) ในการวิเคราะห์คำ หรือตัดคำ รวมไปถึงการอาศัยเทคโนโลยี Machine Learning ในการเรียนรู้ประโยคหรือคำที่ถูกพูดถึงบ่อย ซึ่งเมื่อแปลความได้แล้ว จะเข้าสู่กระบวนการ 3. Integrate ที่จะดึงข้อมูลเพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของผู้บริโภค เพื่อสร้างรูปแบบการโต้ตอบโดยอิงจากองค์ความรู้พื้นฐานที่มี และขั้นตอนสุดท้าย จะกลับเข้าสู่ขั้นตอนการ 4. Engage หรือการโต้ตอบกลับ ไม่ว่าจะเป็น Bot หรือโอนต่อไปยังเจ้าหน้าที่

ฉบับที่ 214 เดือนตุลาคม

AI สำหรับแบรนด์ ผู้ช่วยในยุค IoT

“ในธุรกิจ การทำ Chat Bot นอกจากต้องอาศัยเทคโนโลยี Machine Leaning เพื่อเรียนรู้จากสถิติของประโยค หรือคำที่ถูกพูดถึงบ่อยในธุรกิจแล้ว อาจจะต้องมีการเปิด API โดยเฉพาะ ในกรณีที่เป็น Customer Care ที่จะช่วยตอบคำถามเมื่อมีการสอบถามข้อมูลต่างๆ เข้ามา ทั้งนี้มองว่า หากธุรกิจต้องการตอบคำถามในเชิงลึก อาจจำเป็นจะต้องเปิด API ด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้พัฒนา Tool เพื่อสนับสนุนการทำ Chat Bot แล้ว” อรนุช กล่าว

อรนุช กล่าวต่อว่า สำหรับคำถามที่เป็นข้อสงสัยว่า สุดท้ายแล้ว AI จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์หรือไม่ Chat Bot จะมาเป็นผู้ช่วยแบ่งเบางานในกรณีที่ต้องมีการตอบคำถามลูกค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ทำให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและความสนใจของลูกค้า และส่งผลให้การตอบสนองลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

รัสรินทร์ อรุณอิทธิวิทย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Brand Buffet

รัสรินทร์ อรุณอิทธิวิทย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Brand Buffet

Chat Bot จะมาเป็นผู้ช่วยแบ่งเบางาน ในกรณีที่ต้องมีการตอบคำถามลูกค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

IoT ผนวกกับภาคธุรกิจเชื่อมโยงเครื่องจักร ลดแรงงานคน
รัสรินทร์ อรุณอิทธิวิทย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Brand Buffet กล่าวว่า การผนวกความสามารถของเทคโนโลยีดิจิทัลลงสู่การใช้งานจริงผ่านอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจ เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดแรงงานคน หรือการเชื่อมต่อธุรกิจต่างๆ เข้าถึงกัน ทำให้เกิดเทรนด์ของ Startup รวมถึง 2 ระบบใหญ่ อย่าง Smart Machines และ Smart Systems

Burger King ใช้ Chat Bot สำหรับรับสั่งอาหารผ่านการแชตในเฟซบุ๊ก โดยเข้าถึงโลเคชั่นของผู้สั่งในทันที

Burger King ใช้ Chat Bot สำหรับรับสั่งอาหารผ่านการแชตในเฟซบุ๊ก โดยเข้าถึงโลเคชั่นของผู้สั่งในทันที

ซึ่งสำหรับ Smart Machines จะเป็นเครื่องมือที่ล้ำสมัย สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี หรือโปรแกรม Siri นอกจากนี้ Smart Machines ยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยี AI อย่าง Chat Bot เข้ามาช่วยในงาน อย่างเช่น Burger King ที่ใช้ Chat Bot สำหรับรับสั่งอาหารผ่านการแชตในเฟซบุ๊ก โดยที่สามารถเข้าถึงโลเคชั่นของผู้สั่งได้ในทันที ขณะเดียวกัน AI จะเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น โดยจะเริ่มเรียนรู้รูปแบบการทำงานของมนุษย์ ไม่ใช่แค่การทำงานตามคำสั่งแบบเดิมๆ ยกตัวอย่างเช่น การแข่งขันโกะที่ AI สามารถคว้าชัยชนะมนุษย์ได้ หรือ AI ที่สามารถแต่งเรื่องสั้นได้ดีจนเกือบคว้ารางวัลชนะเลิศได้สำเร็จที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วน Smart Systems จะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ในงานที่ต้องใช้การควบคุมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำและต้องการความปลอดภัยสูงขึ้น เช่น เทคโนโลยีรถอัจฉริยะไร้คนขับที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของมนุษย์ในยุคต่อไป

ณัฐธิดา รัตนวุฒิ ผู้ก่อตั้ง MarketingOops

ณัฐธิดา รัตนวุฒิ ผู้ก่อตั้ง MarketingOops

พัฒนา Banner ให้อยู่ในรูปแบบของ VR เมื่อผู้ชมคลิกที่ Banner ก็จะปรากฏภาพแบบ 360 องศา ให้ผู้ชมได้เลือกตามความสนใจ

เทรนด์ VR อนาคตต้องมีไว้ติดบ้าน
เทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาแรงในปีหน้าเช่นกัน คือ VR (Virtual Reality) โดย ณัฐธิดา รัตนวุฒิ ผู้ก่อตั้ง MarketingOops กล่าวว่า เทคโนโลยี VR สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจได้ในหลายๆ วงการ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการบิน รถยนต์ การท่องเที่ยว รวมไปถึงเกมและภาพยนตร์ ซึ่งปัจจุบันหลายแบรนด์ในต่างประเทศ มีการทุ่มงบให้กับเทคโนโลยีนี้อย่างจริงจัง ทั้งในด้านของการพัฒนาตัวกล้องและคอนเทนต์ไม่ว่าจะเป็น Google, YouTube หรือ Sumsung ที่ผลิต Cardboard เข้ามาแข่งขันในตลาดนี้อย่างคึกคัก ขณะเดียวกันฝั่ง Facebook และ YouTube ได้เริ่มมีการผลิตคอนเทนต์ที่จะมารองรับเทคโนโลยีนี้ และในอนาคตมีการคาดการณ์ว่า กล้อง VR จะกลายเป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนต้องมีติดบ้านไม่ต่างจากสมาร์ทโฟน

โรงแรม Marriott กระตุ้นให้ผู้คนเข้าพักในโรงแรมผ่าน VR Postcard รวบรวมประสบการณ์การท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ให้แขกผู้เข้าพักสามารถรับชมได้

โรงแรม Marriott กระตุ้นให้ผู้คนเข้าพักในโรงแรมผ่าน VR Postcard รวบรวมประสบการณ์การท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ให้แขกผู้เข้าพักสามารถรับชมได้

c5

“สิ่งที่ทำให้เทคโนโลยี VR เป็นที่นิยมคือ ความเสมือนจริง ที่ผู้บริโภคจะได้สัมผัสกับความน่าสนใจของแบรนด์ และได้มีส่วนร่วมกับตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการมากยิ่งขึ้นด้วยตัวเอง ปัจจุบันจะเริ่มเห็นเทรนด์ ที่แบรนด์ต่างๆ เริ่มมีการแจก VR Cardboard กันแล้ว อย่างเช่น โรงแรม Marriott ที่กระตุ้นให้ผู้คนเข้าพักในโรงแรมผ่านบริการ VR Postcard โดยรวบรวมประสบการณ์การท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ให้แขกผู้เข้าพักสามารถรับชมได้ทางกล้อง VR ของทางโรงแรม หรือแบรนด์รองเท้า Merrell ที่จัดอีเวนต์ให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ปีนเขาแบบเสมือนจริง ขณะสวมใส่รองเท้าของแบรนด์ และอีกสิ่งที่น่าสนใจคือ การพัฒนา Banner ให้อยู่ในรูปแบบของ VR เมื่อผู้ชมคลิกที่ Banner ก็จะปรากฏภาพแบบ 360 องศา ให้ผู้ชมได้เลือกตามความสนใจ แต่สิ่งที่ยังเป็นความท้าทายของเทคโนโลยี VR คือ เรื่องของการสร้างอารมณ์ร่วมของผู้ชม เนื่องจากมีเพียงผู้ที่สวมใส่อุปกรณ์เท่านั้นที่จะได้รับประสบการณ์ ไม่ใช่คนหมู่มากเหมือนการโฆษณาแบบทั่วไป จึงอาจเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เสียโอกาสในการสร้างประสบการณ์ร่วมได้” ณัฐธิดา กล่าว