เมืองแห่ง อนาคต: คุณพร้อมรับมือ แล้วหรือยัง?

ปริมาณข้อมูลมหาศาลจะช่วยให้สามารถออกแบบสินค้าและบริการได้ดีขึ้น

ปริมาณข้อมูลมหาศาลจะช่วยให้สามารถออกแบบสินค้าและบริการได้ดีขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองใหญ่ทั่วโลกต่างมีประชากรหลั่งไหลเข้ามามากขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะด้วยเพราะความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต หรือโอกาสในการหางานทำ ยกตัวอย่างกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะเป็นพิษ รถติด และมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

เหล่านี้คือ ปัญหาที่หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกกำลังเผชิญ แต่ขณะที่หลายคนกำลังพร่ำบ่นถึงปัญหา ก็มีนักวางผังเมือง นักออกแบบ และนักคิดจำนวนไม่น้อยกำลังวางแผนพัฒนาเมืองให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายมากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ที่อยู่อาศัย อินเทอร์เน็ต และสิ่งแวดล้อม เพราะอย่างไรเสีย เราก็ไม่สามารถต้านทานกระแสการขยายตัวของเขตเมืองได้นั่นเอง

ขุมทรัพย์จากข้อมูลปริมาณมาก
สืบเนื่องจากปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นมหาศาลจากการที่ผู้คนท่องโลกออนไลน์ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพากันมากขึ้น จึงทำให้เกิดแนวคิดการรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลและวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมของประชากรในเขตเมือง แล้วนำผลที่ได้ไปเป็นฐานคิดเพื่อพัฒนาโครงการต่อไป

Dan Doctoroff ซีอีโอ Sidewalk Labs บริษัทย่อยของ Alphabet ที่เน้นการคิดค้นนวัตกรรมสำหรับชุมชนเมือง ได้เสนอแนวคิด “เมืองอัจฉริยะ” (Smart Cities) ที่อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต โดยมีหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ประชาชนสามารถใช้งานได้ฟรี ทำให้สามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้บริการขนส่งสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานอื่น แล้วนำมาประมวลผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ

สำหรับประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับคือ ข้อมูลขนส่งสาธารณะที่ได้รับการอัพเดตแบบเรียลไทม์ ทำให้ทราบได้ว่ารถประจำทางเจ้าประจำอยู่ที่ไหน ช่วยให้สามารถวางแผนการเดินทางได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันข้อมูลจากรถยนต์ที่อยู่บนท้องถนนก็จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเลือกเส้นทางเร็วที่สุดได้โดยทันที คล้ายๆ กับเวลาเราเรียกดู Google Maps เพื่อตรวจสอบสภาพการจราจรนั่นเอง

(หวังว่า) อีกไม่นานเราคงเห็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบนี้วิ่งกันเต็มเมือง

(หวังว่า) อีกไม่นานเราคงเห็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบนี้วิ่งกันเต็มเมือง

เมื่อเมืองอัจฉริยะสามารถเก็บข้อมูลการใช้รถใช้ถนนได้มากพอแล้ว ก็สามารถนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาจุดปล่อยยานยนต์อัตโนมัติ โดยรถยนต์ที่ถูกปล่อยก็จะแล่นไปตามท้องถนนแบบเดียวกับรถแท็กซี่ เพียงแต่ไม่มีคนขับ

แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ David Pescovitz ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยที่ Institute for the Future (IFTF) สหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอว่า การขนส่งสาธารณะและส่วนบุคคลจะสามารถเชื่อมโยงซึ่งกัน เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการจราจรบนท้องถนนระหว่างกัน เพื่อให้การเดินทางเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริการ On-demand ทั้งหลายจะเริ่มใช้ขุมทรัพย์ข้อมูลในการ “คาดเดา” ความต้องการของลูกค้า โดยคำนวณจากพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงที่ผ่านมา และพร้อมจัดส่งสินค้าให้ถึงหน้าประตูบ้านทันที ช่วยประหยัดเวลาการเดินทางไปได้อีกมากเลยทีเดียว

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ยานยนต์แห่งอนาคตนั้นมีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า และมีความสามารถขับเคลื่อนด้วยตนเอง จึงได้เกิดแนวคิด “แบ่งปัน” การใช้รถยนต์บนท้องถนน ส่งผลให้ความจำเป็นที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัวลดน้อยลง เมื่อเมืองอัจฉริยะสามารถเก็บข้อมูลการใช้รถใช้ถนนได้มากพอแล้ว ก็สามารถนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาจุดปล่อยยานยนต์อัตโนมัติ โดยรถยนต์ที่ถูกปล่อยก็จะแล่นไปตามท้องถนนแบบเดียวกับรถแท็กซี่ เพียงแต่ไม่มีคนขับ หรือถึงมีก็นั่งอยู่หลังพวงมาลัยคอยดูแลความปลอดภัยเท่านั้น และผู้โดยสารสามารถเรียกรถได้จากสมาร์ทโฟน ที่น่าสนใจคือ Paul McConnell ผู้อำนวยการด้านการออกแบบที่ Intersection บริษัทผู้ดำเนินการติดตั้งบริการไวไฟฟรีให้กับเมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์ว่า ผู้คนในอนาคตจะใช้รถยนต์เป็นเหมือนกับสำนักงานเคลื่อนที่มากขึ้น เพราะไม่ต้องมาคอยขับรถเองอีกต่อไป ช่างเหมาะกับเมืองที่ผู้คนใช้เวลาอยู่บนท้องถนนมากอย่างกรุงเทพ ฯ เสียจริง

บ้านยุคใหม่ เล็ก แต่อบอุ่น
เห็นได้ชัดว่า แนวโน้มที่อยู่อาศัยในเขตเมืองจะมีขนาดเล็กลง เพราะความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร แต่ปริมาณที่ดินกลับมีอยู่เท่าเดิม ทำให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยต้องเน้นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซึ่งเหลืออยู่น้อยนิดให้เกิดประโยชน์สูงสุด สะท้อนให้เห็นจากการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ยุคใหม่ที่เน้นการปรับแต่งให้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากนี้ จากการที่เมืองในอนาคตจะมีผู้คนใช้รถส่วนตัวน้อยลง ก็มีความเป็นไปได้ว่าถนนบางสายอาจถูกเปลี่ยนเป็นคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเมนต์ เพื่อรองรับจำนวนประชากรนั่นอง

ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม

ใช้ App ช่วยสังคม ลดช่องว่างคนที่ลำบาก

การที่ค่าครองชีพในเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจทำให้สมาชิกหลายวัยในครอบครัวต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น หรืออาจต้องอยู่บ้านหลังเดียวกันนานขึ้น ทางหนึ่งก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่อีกทางหนึ่งก็ทำให้สมาชิกมีโอกาสใกล้ชิดมากขึ้นด้วย เห็นได้จากคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มแต่งงานและแยกบ้านอยู่กับพ่อแม่ช้าลง หรืออาจจะแต่งงานและมีลูกจริง แต่ก็ยังอยู่กับพ่อแม่ให้ช่วยเลี้ยงหลาน

อีกทั้งการที่มีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น ก็ทำให้ความต้องการพื้นที่สาธารณะเพื่อประกอบกิจกรรมนันทนาการเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เห็นได้จากปริมาณคอมมิวนิตี้มอลล์ที่ผุดแทบจะทุกมุมเมืองของกรุงเทพ ฯ แต่ตามจริงแล้ว เมื่อปริมาณรถยนต์ในเขตเมืองมีน้อยลง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเปลี่ยนถนนที่ไม่ได้ใช้ไปเป็นเลนจักรยาน ทางคนเดิน และเปลี่ยนที่จอดรถว่างเปล่าไปเป็นสวนสาธารณะ

เมืองในอนาคตคงต้องพึ่งพลังงานสะอาดแบบนี้

เมืองในอนาคตคงต้องพึ่งพลังงานสะอาดแบบนี้

งานฟรีแลนซ์ครองเมือง
ในบทความฉบับก่อนๆ ผมได้เคยเขียนถึงแนวโน้มในอนาคตที่หุ่นยนต์กับ A.I. จะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ได้ในหลายสาขาอาชีพ ส่งผลให้ความต้องการจ้างพนักงานประจำองค์กรมีความจำเป็นน้อยลง และแรงงานยุคหน้าต้องเบนเข็มไปรับงานแบบฟรีแลนซ์แทน โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งยังไม่มีสมองกลสามารถทำได้ จึงทำให้บริการ “จับคู่” อุปสงค์กับอุปทานอย่าง Uber มีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนเมืองได้อย่างทันท่วงที

ระบบรู้จำใบหน้า จะช่วยยกระดับการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ทุกวันนี้เราได้เห็นระบบรู้จำใบหน้าได้ถูกนำมาใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการรักษาความปลอดภัยให้กับอาคารสถานที่ หรือการช่วยอำนวยความสะดวก เช่น แอพพลิเคชั่น Google Photos ที่มีความสามารถวิเคราะห์ใบหน้าบุคคลและสถานที่ที่อยู่ในภาพได้ ทำให้การจัดเรียงภาพทำได้รวดเร็วมากขึ้น และบน Facebook ที่มีระบบรู้จำใบหน้าช่วยให้สามารถแท็กเพื่อนได้อย่างสะดวก เป็นต้น

แน่นอนว่า เทคโนโลยีนี้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับความปลอดภัยให้กับที่อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน เช่น เจ้าของบ้านสามารถตั้งค่าระบบให้รู้จำใบหน้าผู้อาศัย โดยเชื่อมกับระบบ “บ้านอัจฉริยะ” โดยเมื่อกล้องจับภาพใบหน้าผู้อาศัยในบ้านได้เมื่อไร ประตูก็พร้อมเปิดอัตโนมัติและวิทยุก็พร้อมเล่นเพลงโปรดทันทีที่เราก้าวเข้ามา ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็สามารถเชื่อมโยงภาพใบหน้าคนร้ายเข้ากับระบบกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่ตามบ้านของประชาชน เพื่อช่วยเป็นตาให้อีกทางหนึ่ง

อีกหน่อยงานฟรีแลนซ์ หรืองานรับจ้างเล็กน้อยที่มักเรียกว่า Gig Economy อาจกลายเป็นอาชีพหลักของคนเมือง

อีกหน่อยงานฟรีแลนซ์ หรืองานรับจ้างเล็กน้อยที่มักเรียกว่า Gig Economy อาจกลายเป็นอาชีพหลักของคนเมือง

เจ้าของบ้านสามารถตั้งค่าระบบให้รู้จำใบหน้าผู้อาศัย โดยเชื่อมกับระบบ “บ้านอัจฉริยะ” โดยเมื่อกล้องจับภาพใบหน้าผู้อาศัยในบ้านได้เมื่อไร ประตูก็พร้อมเปิดอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็สามารถเชื่อมโยงภาพใบหน้าคนร้ายเข้ากับระบบกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่ตามบ้านของประชาชน

พลังงานสะอาด ทางออกสำหรับคนเมือง
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหามลภาวะและความร้อนสะสม เมืองแห่งอนาคตจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน อาทิ แสงอาทิตย์และลม ซึ่งปัจจุบันนี้ หลายเมือง เช่น เบอร์ลิงตัน รัฐเวอร์มอนต์ และแอสเพน รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้กลายเป็นเมืองนำร่องที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ จึงมีความเป็นไปได้สูงมากว่าเมืองต่างๆ ทั่วโลกจะเปลี่ยนมาใช้วิธีการเดียวกัน อาจจะด้วยการกำหนดพื้นที่หนึ่งให้เป็น Solar/Wind Farms สำหรับผลิตพลังงานหมุนเวียน หรือรัฐออกโครงการให้ประชาชนติดตั้งเซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์ไว้บนหลังคาบ้าน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเสียที่จะถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศไปได้มากเลยทีเดียว

สรุป
บางคนอาจคิดว่า หลายประเด็นที่เขียนถึงนี้อาจเป็นเรื่องไกลตัวไปสักนิด โดยเฉพาะยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ยังไม่มีเมืองไหนในโลกใช้อย่างจริงจัง เพราะติดด้วยข้อกฎหมายและความสามารถของระบบที่ยังจำกัด แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่อาจปฏิเสธความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่นับวันจะพัฒนาไปไกลเสียจนเชื่อว่าอีกไม่นานเราจะได้เห็นทั้งเมืองเต็มไปด้วยรถ (หุ่น) ยนต์ ซึ่งหากเกิดขึ้นได้จริงก็หวังว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ตลอดจนปริมาณรถยนต์ส่วนตัวลงได้บ้าง

แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ก็ขอให้เปลี่ยนมาใช้ขนส่งสาธารณะกันมากขึ้น เพราะปัญหารถติดในกรุงเทพฯ มันไม่ไหวแล้วจริงๆ ครับ

[efspanel style=”” type=””]
[efspanel-header]
Contributor
[/efspanel-header]
[efspanel-content]
falcon

falcon_mach_v

สรนาถ รัตนโรจน์มงคล

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 48 และปริญญาโทจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รหัส 55 ปัจจุบันประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับด้านไอที แต่ด้วยความชอบจึงได้มีงานเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เสมอ สามารถติดตามอ่านได้ที่ www.bitwiredblog.com และชมเว็บไซต์ผลงานภาพถ่ายได้ที่ http://iviewphoto.me

Facebook: sorranart

Website: ontechz.blogspot.com

[/efspanel-content]
[/efspanel]