IoT ช่วยตันสินใจแทน ข้อมูลธุรกิจมหาศาล

ดิออน นิวแมน รองประธานฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจวัตสัน ไอโอที ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น

ดิออน นิวแมน รองประธานฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจวัตสัน ไอโอที ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น

การปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจไม่ได้มองการลงทุนเพื่อรองรับการใช้งานเพียงอย่างเดียว IoT สามารถเรียนรู้ได้กับทุกปฏิสัมพันธ์ พลิกโฉมอุตสาหกรรม และเป็นความท้าทายของธุรกิจ

ปัญหาหลักของ IoT อยู่ที่การนำข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเซ็นเซอร์มาใช้ประโยชน์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีหลายมิติและเปลี่ยนแปลงทุกวินาที และซับซ้อนเกินกว่าที่เทคโนโลยีคอมพิวติ้งจะรับมือได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ

นำค็อกนิทิฟ ถอดรหัสข้อมูลมหาศาล
ดิออน นิวแมน รองประธานฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจวัตสัน ไอโอที ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปัจจุบันมีอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อทั่วโลกราวๆ 13,000 ล้านชิ้น และคาดว่าภายในปี 2020 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 29,000 ชิ้น นอกจากนี้ ไอดีซียังได้คาดการณ์ว่า ในปี 2019 จะสร้างมูลค่าสูงถึง 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ในประเทศไทยถือเป็นตลาดใหม่ที่มีความน่าสนใจ โดย ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน คาดการณ์การใช้จ่ายด้าน IoT จะสูงถึง 973.3 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2020 ซึ่งเติบโตขึ้นกว่า 1,600 เปอร์เซ็นต์จากปี 2015 ที่มีตัวเลขอยู่ที่ 57.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

4

แต่ข้อมูลชี้ว่า มีการนำข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันมาใช้ประโยชน์เพียง 12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปัญหาหลักของ IoT อยู่ที่การนำข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเซ็นเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลจากเครื่องจักร รถยนต์ โดรน ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ และอุปกรณ์การแพทย์ มาใช้ประโยชน์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีหลายมิติและเปลี่ยนแปลงทุกวินาที และซับซ้อนเกินกว่าที่เทคโนโลยีที่ประมวลผลตามชุดคำสั่งที่โปรแกรมไว้จะรับมือได้ จึงนำไปสู่การนำค็อกนิทิฟเข้ามาใช้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่รวมนวัตกรรมทางด้าน อนาไลติกส์ ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาษามนุษย์ รวมถึงความสามารถของระบบในการเรียนรู้ เข้าใจ และให้เหตุผลได้ด้วยตนเอง โดยเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ เซ็นเซอร์ ภาพ เสียง และวิดีโอ ซึ่งสามารถเข้าใจความสัมพันธ์และเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลเหล่านั้น และยังสามารถเรียนรู้จากบริบทใหม่ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์อีกด้วย

“ในปี 2015 ไอบีเอ็ม ได้ตั้งกลุ่มธุรกิจ Watson IoT เพื่อนำเทคโนโลยีค็อกนิทิฟเข้าเป็นกุญแจสำคัญในการถอดรหัสข้อมูล IoT จำนวนมหาศาลให้กับองค์กรและอุตสาหกรรมต่างๆ ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อยอดธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบและเชื่อมโยงทั้งระบบ โดยไอบีเอ็ม ได้ใช้งบลงทุนกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ IBM Watson IoT ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมันนี โดยมีพนักงานมากกว่า 1,000 คน และเปิดพื้นที่ให้มีลูกค้าองค์กรต่างๆ มาทำวิจัยร่วมกันได้” ดิออน กล่าว

 

ใช้เซ็นเซอร์ติดตามข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์และกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ

ใช้เซ็นเซอร์ติดตามข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์และกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ

ค็อกนิทิฟเป็นเทคโนโลยีที่รวมนวัตกรรมทางด้านอนาไลติกส์ ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาษามนุษย์ โดยเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ เซ็นเซอร์ ภาพ เสียง และวิดีโอ

ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่อยอดธุรกิจ
ปัจจุบันธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกเริ่มนำ IoT ไปใช้ต่อยอดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรให้มีต้นทุนที่ถูกลง จากการใช้เซ็นเซอร์ในการติดตามข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์และกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ และด้วยปัจจัยด้านราคาของอุปกรณ์ที่ถูกลง ทำให้ทุกประเทศต่างสนใจและเตรียมแผนการลงทุนด้าน IoT มากขึ้น

ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่นำแพลตฟอร์ม Watson IoT เข้าไปใช้ต่อยอดในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร สามารถติดตามข้อมูล และได้รับข้อมูลละเอียดมากขึ้นจากเดิม ยกตัวอย่าง เช่น Aerialtronics ที่นำค็อกนิทิฟ ต่อเข้ากับ โดรน โดยใช้ความสามารถในการเข้าใจภาพของ Watson IoT ช่วยจับภาพถ่ายทางอากาศพร้อมส่งไปยังแพลตฟอร์มคลาวด์ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลภาพจากวิดีโอแบบเกือบเรียลไทม์ โดยจะเริ่มนำไปใช้ในการจับภาพเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อตรวจสอบความเสียหายของอุปกรณ์หรือสายเคเบิ้ล โดยระบบสามารถเรียนรู้และให้คำแนะนำแก่ทีมเพื่อการตัดสินใจได้อย่างทันที นอกจากนี้ยังมีการวางแผนนำโดรนไปใช้ในการตรวจสอบการทำงานของชิ้นส่วนเครื่องบินอีกด้วย

นอกจากนี้ ธุรกิจสามารถนำเซ็นเซอร์ไปติดตั้งบนผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในมือของลูกค้า ทำให้สามารถติดตามประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าได้ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปสร้างผลิตภัณฑ์หรือนำเสนอบริการใหม่ๆ รวมไปถึงสามารถตรวจสอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย เช่น Whirlpool ที่นำความสามารถช่วยประหยัดพลังงานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ระบบเครื่องซักผ้าอัจฉริยะที่สามารถช่วยปรับปรุงการอบผ้าให้เหมาะสมกับประเภทของผ้า และปริมาณผ้าที่อบให้เหมาะสมตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธอมัสเจฟเฟอร์สัน ที่นำค็อกนิทิฟ มาใช้ในการประมวลผลภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสอบถามข้อมูลหรือร้องขอสิ่งต่างๆ โดยสื่อสารผ่านลำโพงที่ติดตั้งภายในห้องผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง

รวมไปถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจรูปแบบใหม่ขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น Kone ที่ใช้ IoT เชื่อมต่อข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่อยู่ในลิฟต์ บันไดเลื่อน ประตู ระบบที่กั้นทางเข้าออกในอาคาร ทำให้สามารถตรวจสอบและคาดการณ์ปัญหาต่างๆ ได้ พร้อมประเมินแนวทางการซ่อมหรือบำรุงได้แบบเรียลไทม์ แทนการโทรแจ้งศูนย์บริการลูกค้า

ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม

ใช้ App ช่วยสังคม ลดช่องว่างคนที่ลำบาก

ธุรกิจเริ่มผนวก IoT เข้ากับ Blockchain
การเข้ามาของเทคโนโลยี Blockchain ด้วยคุณสมบัติเรื่องความโปร่งใส และเทคโนโลยีในการ Matching รวมไปถึงการตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งเมื่อนำความสามารถของ IoT ในการรวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ และส่งต่อไปยัง Blockchain ที่ใช้เก็บข้อมูล ทำให้ธุรกิจสามารถติดตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการทำงานของธุรกิจได้

โดย Walmart นำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ในการติดตามในกระบวนการผลิตสินค้าอาหารสดว่าจะมาจากแหล่งไหน จะหมดอายุเมื่อไร และหากพบว่ากระบวนการผลิตนั้นมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะสามารถติดตามย้อนหลังได้ทั้งหมดทันที ทำให้รายละเอียดการจัดส่งเป็นไปอย่างถูกต้องมากขึ้น สามารถพิสูจน์และตรวจสอบรายการสินค้าได้อย่างโปร่งใสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง

ขณะที่ร้านค้าปลีกแต่ละสาขา สามารถจัดการชั้นวางสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงยังทำให้สามารถติดตามสินค้า ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจำหน่ายสู่ลูกค้าทั้งหมด พร้อมบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมในระหว่าง Supply Chain อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ได้จากการเก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ

กิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

กิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

ขยายการใช้งาน IoT หลายอุตสาหกรรมในไทย
กิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการ ผู้จัดการธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า Watson IoT ใช้งานบนคลาวด์ IBM Bluemix ด้วยความปลอดภัย 3 ระดับ ได้แก่ Device and Data Protection, Proactive Threat Intelligence และ Cognitive Risk Management พร้อมเสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์ บริการ และอุตสาหกรรมไทยแล้ว ซึ่งจากนี้จะขยายการใช้งานสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ การดูแลสุขภาพ และประกันภัย และโทรคมนาคม

“แพลตฟอร์ม Watson IoT ครอบคลุมทั้งส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูล บริหารจัดการ วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัย ขณะนี้ เรามีทีมงานที่ให้คำปรึกษากับองค์กรธุรกิจได้เป็นรายอุตสาหกรรม และได้มีการจัดทำโครงการนำร่องเพื่อนำไปใช้กับระบบการผลิตในอุตสาหกรรมแล้ว เรามีการขยายต่อไปที่ลูกค้ากลุ่มยานยนต์ การดูแลสุขภาพ การเงิน ประกันภัย และโทรคมนาคม ผ่านการทำงานร่วมกันทั้งหน่วยธุรกิจซอฟต์แวร์” กิตติพงษ์ กล่าว

Aerialtronics นำค็อกนิทิฟ ต่อเข้ากับโดรน ช่วยจับภาพถ่ายทางอากาศ พร้อมวิเคราะห์ภาพจากวิดีโอแบบเกือบเรียลไทม์

Aerialtronics นำค็อกนิทิฟ ต่อเข้ากับโดรน ช่วยจับภาพถ่ายทางอากาศ พร้อมวิเคราะห์ภาพจากวิดีโอแบบเกือบเรียลไทม์

เมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ สามารถไขรหัสมุมมองเชิงลึกจากข้อมูลจำนวนมหาศาลบนอุปกรณ์ IoT ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้การทำงาน รวมไปถึงการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ แทนสมองของมนุษย์ หลังจากนี้อาชีพใดที่จะถูกหุ่นยนต์ทำงานแทนบ้าง และมนุษย์จะต้องถูกย้ายไปทำงานในส่วนใดต่อไป